Accessibility Tools

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์คุณธรรม โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหารศูนย์คุณธรรม เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ คณะกรรมการโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์คุณธรรม คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือการยกระดับการพัฒนามาตรฐานโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์คุณธรรม

 

ศ.พญ.บุรณี กาญจนถวัลย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร กล่าวถึง โครงการ/กิจกรรม ที่คณะแพทย์ฯ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ในการสร้างและพัฒนาโรงเรียนแพทย์คุณธรรม ภายใต้คุณธรรมเป้าหมาย "ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เอื้ออาทร" โดยส่งเสริม รณรงค์ บ่มเพาะผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียน การสอนและการใช้ชีวิต มีข้อกำหนดเชิงโครงสร้าง/กลไก ตัวชี้วัดพฤติกรรมและส่งเสริมการปฏิบัติ กำกับติดตามด้วยข้อตกลงคุณธรรม เชื่อมโยงกับ Moral Credit เกิดผลลัพธ์ที่มุ่งหวังคือ สามารถลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของคณะแพทย์ฯ ได้กว่า 20% มีผลการประเมิน ITA สูงขึ้น บุคลากรมีพฤติกรรมเชิงบวกและนิสิตมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ได้รับการยอมรับจากสังคมความสุขของคนทำงานเพิ่มมากขึ้น และเกิดความภาคภูมิใจของคนในองค์กร

 

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวชื่นชม Model การดำเนินงานการพัฒนาโรงเรียนแพทย์คุณธรรมที่ผ่านมา พร้อมทั้งให้แนวทางการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม ในรั้วคณะแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลว่า การสร้าง Way of life/Positive life เพิ่มเติมจะดีมาก โดยศูนย์คุณธรรม ยินดีร่วมกับคณะแพทย์ฯ ในการ Guideline และสนับสนุนเครื่องมือการดำเนินงาน ใน 4 ประเด็นหลักคือ

    1.ใช้หลัก Positive drive บุคลากรทุกระดับ เพื่อการทำงานอย่างมีความสุข และสมดุลต่อชีวิต (การดำเนินงานโดยมุ่งเน้นความสุขและคุณค่าของชีวิต 3 ระดับคือ นักศึกษาปริญญาโท-เอก นิสิตแพทย์ และ Resident Fellow ระดับบุคลากรในองค์กร สายวิชาการ และสายสนับสนุน อาจารย์ แพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ อื่นๆ มุ่งเน้นมิติความสุขในการทำงาน)

    2.ร่วมพัฒนา Evidence based (การสร้าง มาตรฐานคุณธรรมของรพ.จุฬาฯ ด้วยตนเอง ที่มีมาตรฐานคุณธรรมแห่งาติ เป็น guideline การดำเนินงาน/ ดัชนีชี้วัดคุณธรรม/ ระบบนิเวศน์คุณธรรม ด้วยทุนชีวิต/ การจัดเก็บข้อมูลผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ ของศูนย์คุณธรรม เช่น Happy Moral Index และกระบวนการรับรอง Reinventing Organization เป็นต้น)

    3.การใช้ Voice of customer (การรับฟังเสียง (feedcback) ของผู้รับบริการเช่น คนไข้ ญาติ ในระดับโรงพยาบาล/นิสิต นักศึกษาแพทย์ ในระดับโรงเรียนแพทย์

    4.การขับเคลื่อนกิจกรรม Project based (กิจกรรม csr) ที่ระเบิดจากภายในองค์กร ทุกภาคส่วน ทั้งสามระดับ

 

ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานระยะต่อไปคือ

      1.มหกรรมตลาดนัดคุณธรรมพลังบวก เวทีโชว แชร์ เชื่อมความดี

      2.พัฒนาทีมแกนนำพลังบวก ร่วมกับทีมอำนวยการ ที่จะเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้เกิด ระบบพี่เลี้ยง

     3.การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Mou) เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์คุณธรรม ต่อไป

 


ภาพและข่าว : กลุ่มงานส่งเสริมคุณธรรมเครือข่ายทางสังคม