1 ตุลาคม 2565 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) โดยกลุ่มงานวิจัยนวัตกรรมและระบบพฤติกรรมไทยร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) จัดกิจกรรมการแข่งขันรอบ 5 ทีมสุดท้าย ในโครงการ MORAL HACKATHON 2022 : การออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2565 ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

 

โดย ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นคณะกรรมตัดสิน 5 ท่าน อาทิ คุณคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) , ดร.รัฐศาสตร์ กรสูตร รองผู้อำนวยการ (กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล,คุณวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ Enterprise Brand Management Office SCG , คุณสุนิตย์ เชรษฐา Founder and Managing Director Change Fusion และ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

 

ทั้งนี้ การแข่งขัน Moral Hackathon 2022 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา และผู้ที่ทำงานในแวดวงเทคโนโลยีและธุรกิจสตาร์อัพ (Start-up) ได้พัฒนาแนวคิด วิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาคุณธรรมในสังคมไทย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์คุณธรรมจึงได้กำหนดโจทย์การแข่งขันครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด “Make a Change : ทุกคนเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน เพื่อรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยแนวคิดดังกล่าวต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผู้ที่ชนะการแข่งขัน จะได้รับเงินรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรจากศูนย์คุณธรรม รวมกว่า 150,000 บาท


สำหรับหลักเกณฑ์การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและวิเคราะห์ปัญหา นำเสนอผลงานที่โดดเด่น น่าสนใจ และเป็นผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคมตลอดจนสามารถต่อยอดได้ในอนาคต โดยปีนี้มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมดจำนวนมาก ก่อนคณะกรรมการจะคัดเลือกให้เหลือ10 ทีมเพื่อเข้ารับการอบรม (Workshop) และคัดให้เหลือ 5 ทีมสุดท้ายเข้าสู่รอบการแข่งขัน (Hack day)

 

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมกลิ่นความดี จากผลงาน Class Craft โดยมีสมาชิกในทีม คือนายพงศ์ปณต ผ่องพันธุ์งาม , นางคณัสนันนท์ ผ่องพันธุ์งาม ครูโรงเรียนจิตรลดา และนางสาวยุรกาญจน์ ผ่องพันธุ์งาม นักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม OT-Ojai จากผลงาน Mind Letter โดยมีสมาชิกในทีม คือนางสาวฮูดาชามีลา ดาโอ๊ะ , นางสาวกัญภาภัก อาชีวกุลมาศ , นางสาวกีรติกร บุญเรืองศักดิ์ และนางสาวธวัลพร ศรีเกียรติณรงค์ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

 

และรางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ทีม NAKAMA จากผลงาน I Wheel Go นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตรนานาชาติ สาขาวิทศวกรรมซอฟต์แวร์ ,ทีมShabab Shift จากผลงาน บอร์ดเกม “พล(แปลง)เมือง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทีม ICS จากผลงาน Dr.Du การวินิจฉัยโรคทุเรียนด้วย AI นักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย