กรอบคิดและรูปแบบการจัดสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีที่ ๓
ปีงบประมาณ ๒๕๖๕



หลักการและเหตุผล

     คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๕) เพื่อให้หน่วยงาน องค์กรทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝัง ส่งเสริมคุณธรรม สร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีโดยใช้กระบวนการ “ระเบิดจากข้างใน” นำไปสู่สังคมคุณธรรมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน อันส่งผลให้ประเทศชาติ และประชาชนมีความมั่นคง สงบสุขด้วยมิติทางศาสนา มั่งคั่ง เข้มแข็ง ด้วยวิถีวัฒนธรรมไทย และยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฯ ที่เน้นการวางระบบรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมในสังคมไทย

 

     สมัชชาคุณธรรม ถือเป็นกระบวนการและเครื่องมือหนึ่งที่สนับสนุนการเชื่อมโยงองค์กร เครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วน โดยเป็นเวทีกลางในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมคุณธรรมเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดทิศทาง และพัฒนานโยบายด้านคุณธรรม สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ในระดับจังหวัด ภูมิภาค และระดับชาติรวมถึงการสร้างกระแสรณรงค์ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาปลุกจิตสำนึกด้านคุณธรรม และขยายผลการขับเคลื่อนงานตามประกาศเจตนารมณ์จากงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติสู่การปฏิบัติตามบริบทของแต่ละองค์กรและพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๕) ประกอบกับการจัดสมัชชาคุณธรรมใน ๔ ภูมิภาค มีข้อเสนอที่สำคัญว่า การขับเคลื่อนคุณธรรมในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทำอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญต่อการส่งเสริมคุณธรรมใช้หลักการระเบิดจากข้างใน มีการประกาศเรื่องคุณธรรมเป็นวาระจังหวัดในทุกจังหวัด

 

     ในปี ๒๕๖๔ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและภาคีเครือข่ายดำเนินการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ ในรูปแบบออนไลน์ด้วยแนวคิด Sustainability with Moral : New Moral New Normal “คุณธรรมวิถีใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มเครือข่ายทางสังคมจนก่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสอดรับกับการแก้ไขปัญหาคุณธรรมของทุกเครือข่ายและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 ของสังคมไทย จำนวน ๔ ข้อ/เรื่องสำคัญ และนำเสนอผลการจัดงานที่สอดคล้องกับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๔ ต่อคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๕ มีมติรับทราบรายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๑ และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย และให้หน่วยงานของรัฐรับข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยมีสาระสำคัญข้อเสนอเชิงนโนบาย ๔ เรื่อง ดังนี้

  1. ค้นหา สำรวจ และรวบรวมเรื่องราวคุณธรรมความดีของสังคมไทยในสถานการณ์โควิด-19เพื่อจัดทำเป็นบันทึกความดีของสังคมและรวบรวมไว้ให้เป็นข้อมูลสำคัญในหอจดหมายเหตุ
  2. การสนับสนุนส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาคน เครื่องมือ และกลไกของชุมชน ให้มีระบบพี่เลี้ยงชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพคนท้องถิ่นให้มีทักษะการเป็นพี่เลี้ยงและนำไปสู่โมเดลครอบครัวพลังบวกในสังคมที่ไร้ความรุนแรง และพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบภาคีเครือข่ายที่ยั่งยืนร่วมกับการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์โดยคนท้องถิ่น ด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นกลไกพี่เลี้ยงระหว่างชุมชน
  3. การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างระบบเครดิตทางสังคม ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างบรรทัดฐานของประเทศ และใช้ข้อมูลเครดิตของบุคคลและองค์กรในการสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมแห่งความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกลไกการสร้างแรงจูงใจในการทำความดีเพื่อยกระดับเครดิตโดยรวมของสังคมให้ดีขึ้น
  4. การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ทางสังคมด้วยมิติความดีด้วยการส่งเสริมระบบเครือข่ายทางสังคมคุณธรรม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสร้างกลไกการมีส่วนร่วมการสื่อสารข้อมูลและการเผยแพร่ความสำเร็จของการขับเคลื่อนคุณธรรม โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนในสังคม ให้สามารถขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมในรูปแบบวิถีใหม่ได้อย่างยั่งยืน

     

     เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนงานส่งเสริมคุณธรรมในระดับพื้นที่จังหวัด ภูมิภาค เกิดการบูรณาการความร่วมมือตามบริบทของแต่ละองค์กรอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม เกิดการนำข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีและประกาศเจตนารมณ์ของจังหวัดคุณธรรมไปขยายผลในองค์กรและพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดการพัฒนาองค์ความรู้สนับสนุนการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม (จังหวัดอุดรธานี) ให้เป็นไปตามแนวทางการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมต่อเนื่อง ๓ ปีและเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณบุคคล/หน่วยงานต้นแบบด้านคุณธรรมให้ได้รับการยอมรับและมีการขยายผลแนวคิดความสำเร็จการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมจากประสบการณ์สู่สาธารณะ

 

     ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการเชิงคุณธรรมในจังหวัดอุดรธานีเป็นปีที่ ๓ เพื่อส่งเสริมพัฒนาให้เกิดจังหวัดคุณธรรมต้นแบบผ่านวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการประสานเชื่อมโยงองค์กรคุณธรรม ผ่านการประชุมและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับต่างๆ การส่งเสริมกิจกรรมกระบวนการพัฒนาคุณธรรมในพื้นที่ การพัฒนายกระดับวิทยากร องค์กรต้นแบบในการเป็นที่ปรึกษา กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการคงไว้ซึ่งความดี สร้างระบบ/มาตรการให้เกิดการขับเคลื่อนต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน และถอดบทเรียนกรณีศึกษาในพื้นที่ต้นแบบ

 

     การจัดสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีที่ ๓ นี้ นับเป็นกระบวนการที่สะท้อนให้เห็นถึงผลสำเร็จของการขับเคลื่อนคุณธรรมเชิงพื้นที่ ก่อให้เกิดการรวมตัวแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชม แชร์ เชียร์ องค์กร/ชุมชนต้นแบบ จากการขับเคลื่อนใน ๙ เครือข่าย เกิดองค์ความรู้การเชื่อมโยงองค์กรเครือข่ายทางสังคม ๙ เครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถเผยแพร่ขยายผลแก่จังหวัดอื่นได้รวมถึงมีการประกาศยกย่องบุคคลผู้มีพฤติกรรมควรค่าแก่การยกย่อง และองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม และขยายผลสู่การปฏิบัติในวงกว้างต่อไป โดยมีการปรับรูปแบบเป็นแบบ Hybrid Online ทั้งแบบออนไลน์และการจริงในพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดอุดรธานี


วัตถุประสงค์การจัดงาน

  1. เพื่อเป็นเวทีกลางของหน่วยงาน องค์กร เครือข่ายทุกภาคส่วนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนและพัฒนาคุณธรรมในระดับองค์กรและพื้นที่จังหวัด
  2. เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายและสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ –๒๕๖๕) และแผนยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องด้านคุณธรรมสู่การปฏิบัติและนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเครือข่าย
  3. เพื่อบูรณาการการส่งเสริมคุณธรรมของหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมของภาคีสมัชชาคุณธรรม
  4. เพื่อส่งเสริมกระบวนการประกาศยกย่อง บุคคลผู้มีพฤติกรรมควรค่าแก่การยกย่อง และองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม รวมถึงถอดบทเรียนแนวคิดจากประสบการณ์ สู่ความสำเร็จเผยแพร่ขยายผลในวงกว้าง

 

ชื่องาน
งานสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้แนวคิด “ชาวอยุธยา มีวินัย
ใส่ใจส่วนรวม”

 

วันและสถานที่จัดงาน
กำหนดจัดงานฯ ๒ วัน ระหว่างวันอังคารที่ ๒๘ – วันพุธที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ ชั้น ๒ The Hall ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกิจกรรมตลาดนัดคุณธรรม ๙ เครือข่ายทางสังคมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

ขั้นตอนการขับเคลื่อนสมัชชาคุณธรรม

  1. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร เครือข่ายทางสังคมภายในจังหวัด หารือและกำหนดแนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนคุณธรรม
  2. ประชุมสร้างความเข้าใจ วางแผน ออกแบบรูปแบบงาน และเตรียมการจัดงานสมัชชาคุณธรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  3. ดำเนินการค้นหา คัดเลือกบุคคล/องค์กร ต้นแบบด้านคุณธรรมในพื้นที่เพื่อประกาศเกียรติคุณและจัดแสดงผลการดำเนินงาน ในงานสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  4. วิเคราะห์ผลการดำเนินการขับเคลื่อนงานส่งเสริมคุณธรรมตามประกาศเจตนารมณ์เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้ากระบวนการสมัชชาคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  5. จัดเวทีสมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  6. ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนติดตามมติประกาศเจตนารมณ์ของสมัชชาคุณธรรมสู่การปฏิบัติในระดับองค์กร จังหวัด ขยายผลยังภูมิภาคอย่างต่อเนื่องในปีต่อไป
  7. การติดตาม ประเมินผล และถอดบทเรียนกรณีศึกษาที่เป็นต้นแบบด้านคุณธรรม สังเคราะห์ข้อมูลนำสู่เวทีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒

 

เป้าหมายการจัดงาน

  1. เกิดการเชื่อมโยงองค์กร เครือข่ายคุณธรรม และบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเชิงนโยบาย หน่วยงานสนับสนุน หน่วยปฏิบัติการทั้งในส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดผ่านกระบวนการสมัชชาคุณธรรม
  2. หน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่างๆ สามารถขับเคลื่อนคุณธรรมที่สอดคล้องกับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมของจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  3. ใช้ “กระบวนการสมัชชาคุณธรรม” เป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์ กรณีศึกษาด้านการส่งเสริมคุณธรรมของหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างกว้างขวางและสร้างการมีส่วนร่วมร่วมจากทุกภาคส่วน
  4. มีองค์กรเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์(ขยายผลเพิ่มเติม) และหรือร่วมลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม และนำกรอบแนวทางการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ (จังหวัดคุณธรรมนำร่อง)
  5. นำเสนอผลการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม ต่อคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ได้รับทราบ และนำผลการดำเนินงาน กรณีศึกษา องค์ความรู้ ข้อมูลแนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรมจากการจัดสมัชชาคุณธรรมจังหวัดอุดรธานีไปขยายผล/ผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะด้านคุณธรรม

 

รูปแบบภาพรวมการจัดกิจกรรม
เป็นการจัดแบบ Hybrid Online โดยมีระยะเวลาการจัดงาน ๒ วัน โดยเป็นไปตามมาตรการของจังหวัดอุดรธานีที่สอดคล้องตามสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ประกอบด้วยเนื้อหากิจกรรมดังนี้

  1. ด้านวิชาการ การปาฐกถาพิเศษ การอภิปราย เสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน ได้แก่
    1. การบรรยายพิเศษ “การขับเคลื่อนมติสมัชชาคุณธรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
    2. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “๓ ปีชาวพระนครศรีอยุธยา ได้อะไรจากการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม”
    3. การนำเสนอผลสำเร็จการขับเคลื่อนคุณธรรมของ ๙ เครือข่าย
    4. พิธีประกาศยกย่องบุคคลผู้มีพฤติกรรมควรค่าแก่การยกย่อง และองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม
    5. การประกาศเจตนารมณ์การขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมของผู้แทนหน่วยงาน องค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วน (ขยายผลเพิ่มเติม) และส่งมอบข้อเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    6. การลงนามความร่วมมือ (MOU) ในการขับเคลื่อนคุณธรรมขององค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนที่สนใจและพร้อมจะดำเนินการ (ถ้าพร้อม)
    7. กิจกรรมอื่นๆ

2. ด้านนิทรรศการ การแสดงผลงานเชิงรูปธรรมด้านการส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรเครือข่ายทางสังคมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในรูปแบบ “ตลาดนัดคุณธรรม” โดยจัดเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

 

โซน ๑ แสดงนิทรรศการยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริมคุณธรรม และชุดความรู้การขับเคลื่อนคุณธรรม อาทิ

- สาระสำคัญแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒
- ผลการขับเคลื่อนแผนปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม นำเสนอ “ข้อมูลชุมชนและท้องถิ่นคุณธรรมต้นแบบทั่วประเทศ”
- ข้อมูลสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ดัชนีชี้วัดคุณธรรม ๕ ประการ
- ข้อมูลโมเดล โครงการครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง
- ร่วมสนุกกิจรรมประเมินความสุขด้วยคุณธรรมความดี
- ร่วมสนุกกับกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์คุณธรรม และช่องทางสื่อสารศูนย์คุณธรรม

โซน ๒ Hall Of Fame นำเสนอประวัติ ผลงาน แนวคิดของบุคคลผู้มีพฤติกรรมควรค่าแก่การยกย่อง และองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โซน ๓ องค์ความรู้การส่งเสริมคุณธรรม ขององค์กรภาคีเครือข่ายคุณธรรม ๙ เครือข่ายที่สอดคล้องกับคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และคุณธรรมเป้าหมายของจังหวัดอุดรธานีมุ่งเน้นการนำเสนอนิทรรศการผลสำเร็จ กรณีตัวอย่างการขับเคลื่อน
ชุมชน องค์กรคุณธรรมต้นแบบภายใต้การขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม และแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๕) ขององค์กรภาคีเครือข่ายคุณธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โซน ๔ ผลิตภัณฑ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรม และอาหารพื้นบ้านภาคกลางของภาคีเครือข่ายทั้งนี้ นิทรรศการที่เกี่ยวข้องด้านคุณธรรม มีรูปแบบเป็นนิทรรศการที่มีชีวิต นำเสนอเนื้อหาและผลการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมที่โดดเด่นจากการส่งเสริมคุณธรรม วิถีวัฒนธรรมอันดีงามในมิติต่างๆ


กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน

จำนวน ๕๐๐ คน ครอบคลุม ๙ เครือข่ายทางสังคมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐฯ เครือข่ายภาคการศึกษา เด็กและเยาวชน เครือข่ายธุรกิจเอกชน เครือข่ายสื่อมวลชน เครือข่ายศาสนา เครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายองค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และเครือข่ายเกษตร ผู้เข้าร่วมชมผ่านระบบออนไลน์ครอบคลุมทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย

- ผู้บริหาร/ตัวแทนหน่วยงาน องค์กรภาคีเครือข่ายทางสังคม
- บุคลากร เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในองค์กร
- เครือข่าย /สมาชิกองค์กรเครือข่าย
- ประชาชนผู้รับประโยชน์ในพื้นที่ของแต่ละองค์กรเครือข่าย
- เด็กและเยาวชนที่สนใจ

 

งบประมาณดำเนินการ

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และองค์กรภาคีเครือข่ายทางสังคมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผู้สนับสนุนการจัดงาน

 

สถานที่ติดต่อ (ฝ่ายเลขานุการร่วม)

  1. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เลขที่ ๖๙/๑๖-๑๗ อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๔๔ ๙๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๖๔๔ ๔๙๐๑ – ๒ เว็บไซต์ www.moralcenter.or.th
  2. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้น ๔ อาคาร ๔ ชั้น ถนนเอเชีย ตำบลคลองสวนพลูอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๓๕ ๓๓๖ ๘๘๒ โทรสาร ๐๓๕ ๓๓๖ ๘๘๑

เมนู