20 - 21 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพกลไกแกนนำพลังบวก ระดับภูมิภาค (กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการพัฒนาครอบครัวพลังบวก (Positive Parenting) ในสังคมไทย ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายประจวบ รักแพทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวเปิดการอบรม และรศ. นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม บรรยายพิเศษ หัวข้อ “การสร้างระบบนิเวศด้วยพี่เลี้ยงพลังบวก” พร้อมกับมอบหมายให้นายยงจิรายุ อุปเสน ผู้จัดการสำนักส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม เป็นผู้แทน กล่าวปิดการอบรม และมอบประกาศนียบัตร ณ ห้องประชุมเรือนนภาลัย โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
การอบรมพัฒนาศักยภาพกลไกแกนนำพลังบวก ระดับภูมิภาค จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างขีดความสามารถและพัฒนาองค์ความรู้แก่กลไกภาคีเครือข่าย ให้สามารถขับเคลื่อนองค์ความรู้ทุนชีวิต และระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชน สู่การปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ในพื้นที่ทั้งระดับชุมชนและระดับจังหวัด เพื่อเป็นโมเดลการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชนสู่การพัฒนาครอบครัวพลังบวกต้นแบบ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วยบุคลากรจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด จากจังหวัดหนองคาย กาฬสินธุ์ มุกดาหาร หนองบัวลำภู เลย สุรินทร์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อุดรธานี และบุรีรัมย์ จำนวนกว่า 100 คน
นอกจากนี้ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการพัฒนาครอบครัวพลังบวก (Positive Parenting) ในสังคมไทย ระหว่าง ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด จำนวน 11 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย กาฬสินธุ์ มุกดาหาร หนองบัวลำภู เลย สุรินทร์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อุดรธานี และบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพี่เลี้ยงที่ปรึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและวางแผนการปฏิบัติการจริงร่วมกันในการที่จะพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ด้วย 5 ทักษะที่สำคัญ ได้แก่ 1) ทักษะการเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชน 2) ทักษะการพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย 3) ทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชน 4) ทักษะการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ปัญหากรณี เด็กติดเกม และความรุนแรง 5) ทักษะการให้ความช่วยเหลือและส่งต่อ และการสร้างเสริมต้นทุนชีวิต (จิตวิทยาเชิงบวก) รวมถึงเกิดการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชนสู่ความยั่งยืน และเกิดการเรียนรู้จากการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมให้สามารถถอดบทเรียนเป็นโมเดลจังหวัด โดยบทบาทของภาคีความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาครอบครัวพลังบวก (Positive Parenting)ในสังคมไทย
ภาพ/ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารและรณรงค์ทางสังคม
#ศูนย์คุณธรรม #ทำดีไม่ต้องเดี๋ยว #คนดีมีพื้นที่ยืน #ความดีมีพื้นที่ในสังคม #กระทรวงวัฒนธรรม #ครอบครัวพลังบวก
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
🌐 Facebook : ศูนย์คุณธรรม https://www.facebook.com/MoralCenter
🎥 YouTube : Moral Channel https://youtube.com/user/moralcente