กรอบแนวคิดและรูปแบบการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓
๑. ที่มาและกรอบแนวคิดการจัดงาน
จากสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทยในปี ๒๕๖๒-ปัจจุบัน โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ถึงแม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายยังมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และ มีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองเพิ่มขึ้น รัฐบาล คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรม แห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญของการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๙–๒๕๖๕ และขยายผลต่อเนื่องในแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐ เพื่อให้หน่วยงาน องค์กรทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝังส่งเสริมคุณธรรม สร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีนำไปสู่สังคมคุณธรรม ที่เกื้อกูลและแบ่งปัน อันส่งผลให้ประเทศชาติ และประชาชนมีความมั่นคง สงบสุข ด้วยมิติทางศาสนา มั่งคั่ง เข้มแข็งด้วยวิถีวัฒนธรรมไทย และยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ความสำคัญกับการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ และร่วมกันสร้างกระแสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณธรรม พึงประสงค์ ๕ ประการ ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู มุ่งเน้นการส่งเสริม สภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการทำความดี การพัฒนาระบบและเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกเครือข่ายและสร้างแรงจูงใจ ในการทำความดี พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพคนและเครือข่าย ให้มีขีดความสามารถในการส่งเสริมคุณธรรม ความดีที่จับต้องได้ นำไปสู่การกำหนดกรอบแนวคิดหลักของกระบวนการสมัชชาคุณธรรม เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงาน องค์กร เครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ให้เกิดการขับเคลื่อนคุณธรรมและผลักดันให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรม ของประเทศ โดยปีจะมีกำหนด concept / Theme การจัดงานในแต่ละปีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านคุณธรรม ในปัจจุบัน
๒. (Theme)แนวคิดการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “Moral Touchable : คุณธรรมสัมผัสได้ สังคมไทยเป็นสุขอย่างยั่งยืน”
๓. วัตถุประสงค์การจัดงาน
๓.๑) เพื่อเป็นเวทีกลางการเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วน ในการกำหนดแนวทาง การขับเคลื่อนคุณธรรมที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านคุณธรรมและผลักดันข้อเสนอ เชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓.๒) เพื่อติดตาม รายงานผลการขับเคลื่อนตามประกาศเจตนารมณ์ของภาคีเครือข่ายสมัชชา คุณธรรมแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา และการขยายผลสู่การปฏิบัติในระดับภูมิภาค และกำหนดแนวทางการขับเคลื่อน สังคมคุณธรรมในปีต่อไป
๓.๓) เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้“ชม แชร์ เชียร์” กระบวนการส่งเสริมคุณธรรม ของหน่วยงาน ชุมชน องค์กรและเครือข่ายในมิติต่างๆ
๓.๔) เพื่อสนับสนุนการนำเสนอความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริม คุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ของหน่วยงาน องค์กรภาคส่วนต่างๆ
๔. เนื้อหาหลัก
- การรายงานสถานการณ์ดัชนีชี้วัดคุณธรรมของสังคมไทย ปี ๒๕๖๖ ภายใต้คุณธรรม ๕ ประการ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตสาธารณะ และกตัญญู”
- แนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อเสนอเชิงนโยบายของหน่วยงาน เครือข่ายทางสังคม ๖ กลุ่ม ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน เครือข่ายองค์กรทางศาสนา เครือข่าย การศึกษาเด็กและเยาวชน เครือข่ายสื่อมวลชน และเครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชนและครอบครัว จากการระดม ความคิดเห็นของหน่วยงานประชารัฐทั้งเชิงนโยบาย หน่วยสนับสนุน หน่วยปฏิบัติการ เพื่อหาแนวทางการแก้ไข ปัญหา กำหนดเป้าหมาย และกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การนำเสนอผลการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ ของ หน่วยงานระดับกระทรวง ระดับจังหวัด
- นำเสนอผลการขับเคลื่อนตามประกาศเจตนารมณ์ของเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ผ่านมา และผลจากสมัชชาคุณธรรมระดับจังหวัดใน ๔ ภูมิภาค ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รวมถึงการผลักดัน ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรม เพื่อกำหนดวาระการขับเคลื่อนคุณธรรม ผ่านมติสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติในรอบ ปีต่อไป
- การนำเสนอนวัตกรรม องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรมของหน่วยงาน องค์กร เครือข่าย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ ระบบเครดิตสังคม (Social credit system) โมเดลครอบครัวพลังบวก เป็นต้น
- การสื่อสาร รณรงค์เสริมสร้างค่านิยม คุณธรรมในวิถีใหม่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรม “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู”
- การประกาศยกย่องรางวัลคุณธรรมอวอร์ด ปี ๒๕๖๕ ประเภทสื่อคุณธรรมอวอร์ด ปี ๒๕๖๕ และรางวัลประเภทบุคคล ชุมชนและองค์กรคุณธรรม ปี ๒๕๖๕
๕. วัน และสถานที่จัดงาน
การจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ จำนวน ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ - ๑ กันยายน ๒๕๖๖ ณ หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร
๖. รูปแบบภาพรวมการจัดกิจกรรม
การจัดงานแบ่งพื้นที่เป็น ๒ ส่วนหลัก คือ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ “สมัชชาคุณธรรม” และ การจัดแสดงนิทรรศการ นำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ “ตลาดนัดคุณธรรม” โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้า ร่วมงานประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายบริหารในระดับนโยบาย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรสาธารณะ ประโยชน์ องค์กรภาคประชาสังคม แกนนำเครือข่ายคุณธรรมในพื้นที่ และประชาชนทั่วไป
๗. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน โดยการเข้าร่วมงานในพื้นที่จริง วันละประมาณ ๑,๕๐๐ คน และเข้า ร่วมงานผ่านระบบออนไลน์ได้แก่
๑) บุคคล /องค์กรระดับการกำหนดนโยบาย อาทิ ผู้แทนรัฐบาล คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรม แห่งชาติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนกลไก คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับจังหวัด ๗๗ จังหวัด และระดับกระทรวง ๒๑ กระทรวง คณะกรรมการจัด งานฯ เป็นต้น
๒) ผู้แทนองค์กร เครือข่ายทางสังคม ๖ กลุ่มเครือข่าย ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และหน่วยงาน หลักที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนคุณธรรม ๕ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และจิตอาสา - เครือข่ายภาครัฐ - เครือข่ายภาคธุรกิจ เอกชน - เครือข่ายองค์กรทางศาสนา - เครือข่ายการศึกษา เด็กและเยาวชน - เครือข่ายสื่อมวลชน - เครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชน ครอบครัว
๓) ผู้แทนองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่ขับเคลื่อนจังหวัดส่งเสริมคุณธรรมใน ๔ ภูมิภาค
๔) ผู้แทนหน่วยงานความร่วมมือด้านคุณธรรมของประเทศอาเซียนและนานาชาติ
๕) บุคคล ตัวแทนชุมชน องค์กร หน่วยงานสื่อที่ได้รับรางวัลคุณธรรมอวอร์ด ปี ๒๕๖๕ (ร่วมพิธี มอบรางวัลในวันที่ ๒ ของการจัดงานฯ)
๖) ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
๘. ผลลัพธ์จากการจัดสมัชชาฯ
๘.๑) สังคมไทยเกิดความตื่นตัวและมีปฏิบัติการร่วมของเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อน คุณธรรมพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู
๘.๒) หน่วยงาน องค์กรทุกภาคส่วนต่างๆ ได้มีส่วนร่วมนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การ ส่งเสริมคุณธรรมจากการปฏิบัติจริง เกิดการรับรู้ มีความเข้าใจในกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมที่จะนำไปสู่การ ปฏิบัติในหน่วยงาน องค์กรเพิ่มขึ้น
๘.๓) หน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ได้รับรู้และเข้าใจแนวทางการนำนโยบายด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ นำสู่การพัฒนาต่อ ยอด ขยายผลในระดับองค์กร/พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับต่างๆ อย่างเป็น รูปธรรม
๘.๔) องค์กรเครือข่ายทางสังคมที่เข้าร่วมสมัชชาคุณธรรมได้รับการพัฒนายกระดับและเชื่อมโยง การทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกของแต่ละเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม
๙. หน่วยงาน องค์กรเจ้าภาพหลักการจัดงาน
- เชิญชวนหน่วยงาน องค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งในส่วนกลาง และหน่วยงานในภูมิภาค เข้าร่วมเป็น องค์กรภาคีร่วมจัดงาน สมัชชาคุณธรรมเพื่อบูรณาการประเด็น เนื้อหา ทรัพยากร และงบประมาณตามความ เหมาะสม
- โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการ