1423 1919 1203 1594 1777 1912 1204 1002 1720 1393 1175 1084 1439 1141 1242 1585 1433 1111 1895 1342 1765 1651 1470 1536 1400 1862 1970 1235 1808 1686 1070 1307 1908 1147 1238 1051 1409 1235 1434 1912 1631 1857 1346 1855 1578 1183 1825 1964 1297 1684 1877 1545 1064 1492 1452 1940 1844 1909 1411 1468 1623 1693 1145 1108 1101 1287 1945 1027 1557 1944 1770 1079 1460 1034 1615 1101 1254 1726 1227 1386 1595 1329 1695 1256 1689 1447 1565 1627 1719 1047 1052 1617 1269 1231 1397 1514 1418 1567 1693 ศคธ. ลุยพื้นที่สุราษฎร์ฯ เสริมพลังชุมชนองค์กรคุณธรรม หวังขยายผล “คนดี-ความดี” มีพื้นที่ในสังคม - moralcenter

วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำโดย นายยงจิรายุ อุปเสน ผู้จัดการสำนักส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม นายประมวล บุญมา หัวหน้ากลุ่มงานสมัชชาคุณธรรมและความร่วมมือนานาชาติ เจ้าหน้าที่ศูนย์คุณธรรม และได้รับเกียรติจากนายอิทธิพร วันดี ผู้ทรงคุณวุฒิศูนย์คุณธรรม

 

ในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงานกลไกติดตามประเมินผลฯ ร่วมลงพื้นที่กับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และคณะทำงานกลไกติดตามประเมินผลแบบเสริมพลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเยี่ยมชม ติดตาม ประเมินผล และเสริมพลังการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมสุราษฎร์ธานี จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2) โรงเรียนพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี และ 3) ชุมชนคุณธรรมวัดดอนสัก
.
กิจกรรมช่วงเช้า ลงพื้นที่เยี่ยมชมเครือข่ายการศึกษา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร “องค์กรคุณธรรมระดับนโยบายด้านการศึกษาสุราษฎร์ธานี” ที่มุ่งมั่นตั้งใจ ขยายผลการขับเคลื่อนคุณธรรมสู่สถานศึกษาในสังกัดทุกโรงเรียน มีการขับเคลื่อน อาทิ 1) ประกาศเจตนารมณ์องค์กรคุณธรรม 2) การจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรม 3) การยกย่องเชิดชู การทำความดี (บุคคลดีเด่น โครงการ/กิจกรรมดีเด่น) 4) การขยายผลการขับเคลื่อนคุณธรรมสู่สถานศึกษา ผลการดำเนินงานส่งผลให้ 1) องค์กรมีประสิทธิภาพและภาพลักษณ์ดีขึ้น 2) บุคลากรเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม 3) ได้คนดีมีคุณภาพมีความสุข 4) มีระบบงานบนฐานคุณธรรมความดี 5) มีกิจกรรมร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดี มีความรักและสามัคคี
.
จากนั้น ลงพื้นที่เยี่ยมชมเครือข่ายการศึกษา : โรงเรียนพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี “โรงเรียนคุณธรรมต้นแบบร่วมสร้างสังคมดีตามรอยพ่อ” มีโครงงานคุณธรรมทุกชั้นทุกห้องเรียนถึง 24 โครงการ และ 1 โครงการคุณธรรมโดดเด่น “ถุงสร้างรอยยิ้ม” โดยทุกโครงการฯ เป็นการคิดริเริ่มและลงมือทำเองโดยนักเรียนผ่านสิ่งที่เขาอยากทำและอยากเห็น อาทิ ห้องเรียนสีเขียว นักเรียนสีขาว, เกรดสวยด้วยมือเรา, เด็กโดดไม่ดี เด็กดีไม่โดด, แต่งกายดีเพื่อศักดิ์ศรีพัชระ เป็นต้น มีผลการขับเคลื่อน เช่น 1) นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดี สถิติการทะเลาะวิวาทของนักเรียนลดลง ไม่มีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2559 2) เด็กดีมีมารยาท สามารถเป็นที่เชิดหน้าชูตาของโรงเรียนและจังหวัด 3) นักเรียนต้นแบบสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้นำเสนอโครงงานคุณธรรมต่างๆ ขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นๆ 4) โรงเรียนมีนักเรียนจิตอาสา 100%
สำหรับกิจกรรมช่วงบ่าย ลงพื้นที่เยี่ยมชมเครือข่ายประชาสังคม ชุมชน และครอบครัว : ชุมชนคุณธรรมวัดดอนสัก “ชุมชนพลังบวร วัดสิงขร วิงวร ดอนสัก รวมพลังสร้างความดี” ที่มีการบูรณาการความร่วมมือด้วยพลังบวรทำเต็มที่เต็มพลัง โดยมีข้อปฏิบัติหลัก 3 ประการ คือ 1) ปฏิบัติตามหลักศาสนา 2) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรม นำไปสู่ความมั่นคง 3 สถานบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยมีคุณธรรมหลักในการขับเคลื่อน 4 ประการ ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ซึ่งมีกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ภายในชุมชน อาทิ การมอบทุนการศึกษา จิตอาสาในวัดและชุมชน การเข้าวัดปฏิบัติธรรมไหว้พระสุขกายสุขใจ Style New Normal การท่องเที่ยวตามเส้นทางท่องเที่ยวสายมู การรณรงค์สวมใส่ผ้าไทยประจำท้องถิ่น เป็นต้น ทำให้เกิดการส่งเสริมคุณธรรมในชุมชน เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน เกิดแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน และประชาชนในพื้นที่
.
ทั้งนี้ คณะทำงานกลไกติดตามฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอเสนอแนะ ดังนี้ 1.การถอดบทเรียนความสำเร็จ การดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาต่อยอด (อะไรที่เราทำได้ดี แล้วถ้าจะทำต่อ ต้องทำอย่างไร, อะไรที่เราได้ไม่ดี แต่จำเป็นต้องทำต่อ จะทำอะไรได้บ้าง, อะไรที่เราจำเป็นต้องทำ แต่เรายังไม่ได้) 2. ลำดับความสำคัญให้ชัดเจน และลงมือปฏิบัติตามแผน 3. คนดีต้องมีที่ยืน ความดีต้องมีพื้นที่โชว์ และความดีต้องการพลังใจ 4. หน่วยงานระดับการกำกับ ต้องทำ และเป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานในสังกัด 5. ต้องมีการเชื่อมโยง บูรณาการ องค์กร หน่วยงานข้างเคียงมาร่วมขยายผล 6.พฤติกรรมของนักเรียนสะท้อนการดำเนินงานขององค์กร บุคลากร ครูอาจารย์ และกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนที่ช่วยพัฒนานักเรียน 7. เด็กลงมือเอง ได้คิดเอง และมีความภาคภูมิใจ 8.กระบวนการทางความคิดของผู้บริหารและบุคลากรมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้ครู ผู้บริหาร และนักเรียน เป็นที่ยอมรับในสังคมวงกว้าง สามารถขยายผลส่งต่อไปยังสถานศึกษาอื่นได้ จึงต้องขอชื่นชมทีมงานที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก 9.การค้นหาบุคคลในการทำความดีเพื่อนำมายกย่องเชิดชู เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพลังใจให้ชาวบ้านและชุมชน ที่จะปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างต่อผู้อื่น และ 10. ประทับใจการทำงานของทุกคน ที่มีการบูรณาการร่วมกัน ทุกคนทำด้วยใจ มีพลัง ทำเกินหน้าที่ของตน หากสังคมมีผู้คนแบบนี้มากขึ้น จะทำให้สังคมมีแต่ความสุขเป็นสังคมคุณธรรมได้
.
ด้าน นายยงจิรายุ อุปเสน ผู้จัดการสำนักส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม กล่าวให้กำลังใจเสริมพลังให้กับเครือข่ายสุราษฎร์ธานี ว่า “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมฯ ฉบับที่ 2 กำลังถูกผลักดันออกมา เราจึงมีร่มใหญ่คลุมเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ในการร่วมสร้าง Moral City ร่วมกัน จึงขอให้กำลังในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้ชุมชน องค์กร และสังคม และจะขอนำองค์ความรู้ของแหล่งเรียนรู้ที่ได้เยี่ยมชมไปเผยแพร่ขยายผลให้สังคมเห็นว่าชุมชนคุณธรรมและองค์กรคุณธรรมสามารถทำได้ ถ้าหากเราทุกคนร่วมใจกัน สานต่อพลังกัน ให้คุณธรรมความดีมีเต็มที่และให้คนดีมีพื้นที่ยืนในสังคม เพราะคนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง”

 


เขียนข่าว : กลุ่มงานสมัชชาคุณธรรมและความร่วมมือนานาชาติ
ถ่ายภาพ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี