24 - 25 มีนาคม 2565 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จัดอบรมวิทยากรแกนนำการขับเคลื่อนคุณธรรมเชิงพื้นที่ จังหวัดคุณธรรม (กลุ่มภาคกลาง) ภายใต้โครงการสมัชชาคุณธรรม และแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 - 2565) โดยมี ผู้แทนจาก 6 แกนนำเครือข่ายจังหวัดภาคกลางเข้าร่วม

 

ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดราชบุรี จำนวนกว่า 35 คน ณ ห้องประชุมเวลาดี โรงแรม ณ เวลา อำเภอเมือราชบุรี จังหวัดราชบุรี
.
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายอุดม เพชรคุต รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมฯ กล่าวว่า การขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม เป็นการบูรณาการความร่วมมือของเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนคุณธรรม ผ่านกระบวนการสมัชชาคุณธรรมที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้การพัฒนาศักยภาพแกนนำ หน่วยงาน และองค์กร ด้วยกระบวนการอบรมวิทยากรส่งเสริมคุณธรรม อีกทั้งยังมีการพัฒนาแกนนำเสริมพลังให้สามารถเป็นตัวแทนในการส่งเสริมคุณธรรมในองค์กรและจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเวทีการอบรมฯในครั้งนี้ เป็นการขยายผลการส่งเสริมจังหวัดคุณธรรม (ภาคกลาง) ต่อยอดความสำเร็จจากทุนเดิมของพื้นที่ ผ่านประสบการณ์ ความรู้ และความสำเร็จขององค์กร/ชุมชน สู่การเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อยกระดับสู่นวัตกรรมที่เหมาะสมกับสังคมไทย
.
ด้าน นางนภสร โศรกศรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า การอบรมวิทยากรส่งเสริมคุณธรรมเชิงพื้นที่ จังหวัดคุณธรรม (กลุ่มภาคกลาง) มุ่งหวังเพื่อให้เครือข่ายทางสังคมเกิดความเข้าใจทิศทางเชิงนโยบายการขับเคลื่อนและขยายผลการส่งเสริมคุณธรรม เข้าใจถึงหลักคิด กระบวนการ และปัจจัยความสำเร็จจากบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมนำร่อง ปี 2558 - 2565 (ภาคกลาง) และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีตัวอย่างการขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม/ชุมชน พร้อมทั้งมีกระบวนการกลุ่มเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ต้นทุนความพร้อมการขับเคลื่อนคุณธรรมของแต่ละจังหวัด และร่วมวางแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมของแต่ละจังหวัดในปี 2556 ต่อไป
.การอบรมวันแรก เริ่มต้นจากด้วยการบรรยายพิเศษ ทิศทางเชิงนโยบาย “คาดหวังการขับเคลื่อนและขยายผลจังหวัดส่งเสริมคุณธรรม” โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม เน้นย้ำเรื่อง คุณธรรม คือ วิถีชีวิต/ (วัฒนธรรม) คุณธรรม ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้แบบซึมทราบจนกลายเป็นวิถี โดยการดำเนินงานด้านคุณธรรม จำเป็นต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา ควบคู่กับการส่งเสริม “คนดีมีพื้นที่ยืน ความดีมีพื้นที่ทางสังคม”
.
ต่อด้วยการเสวนาภายใต้หลักคิด กระบวนการ และปัจจัยผลสำเร็จจากบทเรียนการขับเคลื่อนจังหวัดส่งเสริมคุณธรรมนำร่อง ในปี 2558 – 2565 (ภาคกลาง) โดย นางนภสร โศรกศรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า การขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมของจังหวัดราชบุรี ดำเนินการภายใต้การขับเคลื่อนของ 11 เครือข่าย การขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมนั้น “ผู้นำ” จำเป็นต้องเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินการ ควบคู่กับการหนุนเสริมเครือข่ายทางสังคม โดยการ “ให้ใจและความรู้” ยกย่องความดีทุกรูปแบบผ่านการจัดเวทีกลางจังหวัดคุณธรรม เพื่อสร้างเครือข่ายให้เกิดการเรียนรู้ ต่อยอด และขยายผล ในส่วนนางจุรีพร ขันตี วัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการภายใต้การขับเคลื่อนของ 9 เครือข่าย โดยการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) จำเป็นต้องเริ่มต้นจากตัวเรา (วัฒนธรรมจังหวัด) ทั้งนี้ ตัวเราจะต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผ่านการลงมือทำอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งการดำเนินงานเรื่องของคุณธรรม จะส่งผลทำให้ชุมชนเกิดความสงบสุข ผลที่ได้ตามมาคือปัญหาทางสังคมลดลง และเกิดสังคมคุณธรรมขึ้นในระดับประเทศ
.
นอกจากนี้ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีตัวอย่างการขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม 4 กรณีศึกษา ได้แก่ (1) เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ/การบริหารจัดการกลไกเครือข่ายทางสังคม (กรณีจังหวัดราชบุรี) โดย นางสมพิศ หลวงแจ่ม พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดราชบุรี (2) เครือข่ายภาคประชาสังคม โดย นายฉัตรชัย ธนิกกุล อดีตนายกบริหารส่วนตำบลบ้านคา จังหวัดราชบุรี (3) เครือข่ายองค์กรธุรกิจ โดย นายเขมชาติ สถิตตันติเวช ประธานศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม และ (4) เครือข่ายการศึกษา โดย นายสามารถ ค้วนเครือ ครูชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม และกิจกรรมสุดท้ายของวันแรกผู้เข้าร่วมอบรมได้แบ่งกลุ่มย่อย เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน/ความพร้อมการขับเคลื่อนตามกระบวนการขับเคลื่อนคุณธรรมของแต่ละจังหวัด และเตรียมการวางแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม ในปี 2556 โดย นายยงจิรายุ อุปเสน ผู้จัดการสำนักส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม ศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า จังหวัดคุณธรรมมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในจังหวัดที่ชัดเจน โดยขบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ผลจากการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม ไม่ใช่เป็นจังหวัดที่ไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่เป็นจังหวัดที่ผู้คนไม่ยอมทำต่อปัญหา และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วม รวมถึงเป็นพลังในการสร้างระบบหรือสภาพแวดล้อมให้อยู่ ปลอดภัย และอบอุ่น
.
การอบรมวันที่สอง เป็นการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย แผนเตรียมการ/แผนปฏิบัติการ และร่วมสรุปผลการประชุมและแผนงานความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม ในปี 2566 สำหรับช่วงท้ายการอบรมเป็นพิธีมอบเกียรติบัตร โดยได้รับเกียรติจากนายอุดม เพชรคุต รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานมอบเกียรติบัตรและปิดการอบรมฯ


เขียนข่าว/ถ่ายภาพ : กลุ่มงานสื่อสารและรณรงค์ทางสังคม