24 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จัดประชุมวิชาการคุณธรรมในพื้นที่ทางสังคม หัวข้อ “การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยระบบนิเวศคุณธรรม” ผ่านระบบออนไลน์ Facebook Live Page: Moral Spaces โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

, ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล จาก CoJOY Consulting และผู้แปลร่วม Reinventing Organization (กำเนิดองค์กรสายพันธุ์ใหม่) และรศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอกระบวนการพัฒนาระบบนิเวศคุณธรรม ทั้งในระดับครอบครัว องค์กร และชุมชน และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอต่อแนวคิดและกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยระบบนิเวศคุณธรรม ดำเนินรายการโดย ดร.ภัททิรา วิภวภิญโญ และอาจารย์ธนพงษ์ สมบัติ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
.
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า เวทีการนำเสนอแนวคิดและกระบวนการพัฒนาระบบนิเวศคุณธรรมในวันนี้ จะสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในเชิงนโยบายและออกแบบกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนร่วมกันต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน เนื่องจากสังคมเป็นของเราทุกคน ฉะนั้น การที่จะทำให้เกิดสังคมคุณธรรมได้ จะต้องช่วยกัน ทั้งนี้ ได้สรุปคีย์เวิร์ดสำคัญๆ จากวิทยากรแต่ละท่านได้ฉายภาพไว้ ดังนี้
.
- Moral Mindset กระบวนทัศน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ที่จะทำอย่างไรให้สเกลนี้ไปถึง ระดับครอบครัว ชุมชน องค์กร สังคม เกิดการรับรู้ร่วมกัน ซึ่งข้อเสนอนี้อาจจะต้องนำ “ระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม” เข้ามาช่วย
- Bottom up เป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน ที่จะต้องทำให้เกิดกระบวนการในการกระจายอำนาจ / กระจายความเจริญ ไปสู่ประชาชน อย่างที่วิทยากรจาก SDG Move กล่าวไว้ว่า เมื่อประชาชนปากท้องยังหิวอยู่ ความเหลื่อมล้ำยังบานปลาย การที่จะมาพูดหรือนึกถึงเรื่อง Moral จะเป็นไปได้ยาก
- Moral Spaces การพัฒนา Spaces ให้มีในระดับครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพูดคุยกันต่าง Generation สำหรับ Micro System ควรจะต้องอยู่ใน Transformation for peace (เส้นทางสันติสุข) ซึ่งจะทำให้อยู่ร่วมกันได้
- Moral Organization ความหวังในวิวัฒนาการขององค์กร 5 สี ที่จะพัฒนาสู่ Reinvention Organization ให้เป็นสีเขียวหรือสีทีล ซึ่งน่าจะเป็นความหวังที่ทำให้เกิดสมดุลของความสุขในตนเอง เกิดความสมดุลในชีวิต สมดุลในครอบครัว หรือแม้กระทั่ง การทำงานร่วมกันในองค์กร
- Positive Support การ Support ที่ดี คือ “ระบบพี่เลี้ยงในชุมชน” ที่นำไปสู่ความยั่งยืนได้
.
รศ.นพ. สุริยเดว ยังกล่าวต่ออีกว่า กระบวนการทั้งหมดข้างต้นนี้ จะทำให้เกิดระบบนิเวศคุณธรรม โดยศูนย์คุณธรรมจะทำหน้าที่ติดตามความคืบหน้าในเชิงนโยบาย และทำ Policy Statement ในเรื่อง Moral Mindset, Bottom up, Moral spaces, Moral Organization, Sustainability with moral รวมไปถึง การใช้ Ecosystem ให้เกิดการสื่อสารพลังบวก บน Social Credit System (ซึ่งในอนาคตจะไม่ใช้คำนี้)
.
ศคธ. จึงท้าทายสังคมไทยโดยขอซื้อคำว่า “ปลูกฝัง” เปลี่ยนเป็นคำว่า “วิถีชีวิต” เนื่องจากคำว่า ปลูกฝัง เป็นตรรกกะที่ผู้ใหญ่ใช้เพียงเพื่อหวังให้คน Generation ใหม่เกิดขึ้น แต่ตนเองไม่ได้เป็น Role Model ที่ดี ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีจะไม่เกิดแน่นอน ถ้ามี Role Model ที่แย่ ฉะนั้น เราเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสังคม ถ้าวันนี้ตัวเราเองไม่ลุกขึ้นมาทำ แต่หวังให้คนอื่นลุกขึ้นมาทำ คงเป็นไปได้ยากที่เราจะเจอ “สังคมแห่งคุณธรรม” รศ.นพ.สุริยเดว กล่าวทิ้งท้าย
.
#เปลี่ยนจากปลูกฝังเป็นวิถีชีวิต
#ศูนย์คุณธรรม
----------
สามารถรับชมย้อนหลังได้ตามลิ้งก์ : https://fb.watch/bmFOBw21UF/