1452 1168 1157 1426 1219 1943 1996 1293 1222 1223 1133 1864 1464 1105 1697 1209 1994 1424 1142 1011 1656 1323 1307 1036 1174 1607 1147 1386 1325 1746 1125 1777 1100 1416 1406 1116 1584 1403 1636 1111 1336 1041 1370 1298 1688 1277 1272 1522 1126 1727 1855 1659 1980 1139 1627 1560 1112 1819 1352 1453 1693 1413 1060 1847 1179 1938 1535 1112 1532 1353 1361 1590 1955 1659 1350 1681 1617 1482 1264 1350 1703 1723 1966 1646 1129 1976 1999 1004 1187 1935 1687 1561 1556 1360 1034 1921 1180 1352 1151 ศคธ. ชูโมเดล "อาชีวคุณธรรม" ร่วมพัฒนาวิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค เป็นสถานศึกษาต้นแบบไร้ความรุนแรง สร้างสุภาพชนคนอาชีวะ - moralcenter

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "จิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและครอบครัว" (ครอบครัวพลังบวก) ในโครงการ "แสงแห่งความหวัง" สถานศึกษาต้นแบบสานพลังความร่วมมือ ยุติการใช้ความรุนแรงของนักเรียน นักศึกษา

 

ภายใต้แผนงานท้าทายไทย สังคมไทยไร้ความรุนแรง (สนับสนุนโดย วช.) ผ่านระบบ zoom ซึ่งเป็นการถ่ายทอดสดจากงานธรรมสวัสดีไลฟ์ "ร่วมสร้างครอบครัวกตัญญุตา" ณ เสถียรธรรมสถาน กรุงเทพฯ โดยมีคณะผู้บริหารและกลุ่มผู้ปกครอง จากวิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค กรุงเทพฯ เข้ารับฟังการบรรยายประมาณ 100 คน

 

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กล่าวถึง การพัฒนาการด้านสมองและอารมณ์ในเด็กวัยรุ่น ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต (บ้าน ชุมชน โรงเรียนและกลุ่มเพื่อน) การสร้างความเข้าใจพื้นฐานแก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะช่วงก้าวเข้าสู่วัยรุ่นให้เข้าใจว่า "เด็กไม่ใช่ผ้าขาว แต่เด็กเป็นผ้าสีพื้นที่แตกต่างกัน ลวดลายที่จะเกิดขึ้น เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อ แม่" อย่าเลี้ยงลูกแบบเปรียบเทียบ คุณพ่อคุณแม่คือ คนที่มีอิทธิพลในการสร้างต้นทุนชีวิตต่อเด็กมากที่สุด ความรักและความศรัทธาเป็นการสร้างพลังใจที่ก่อให้เกิด "ทุนชีวิต" ได้ ทุนชีวิตคือ จิตสำนึกและการจัดการตัวเองได้ สำหรับเด็กและเยาวชน "ถ้าทุนชีวิต ถูกฝึกมาดี เขาจะใช้ทุนชีวิตในการจัดการปัญหา หากทุนชีวิตเขาไม่ดี ไม่เคยถูกฝึกฝนมา เขาจะใช้วิธีเลี่ยง/หนีปัญหาแทน" ดังนั้น ในการหล่อหลอมเลี้ยงดูลูกวัยรุ่น ผู้ปกครองต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการหล่อหลอม เรียนรู้การใช้เทคนิคพลังบวกในการสอนผ่านกระบวนการฟัง 3 ระดับคือ
1) ฟังด้วยสติ เป็นผู้ฟังที่ดีไม่ใช้อารมณ์ และปราศจากอคติ
2) สะท้อนความรู้สึก หรือการใช้กายสัมผัส (กอด) เพื่อครองสติ
3) เหลาความคิด (ชวนพูดคุยว่า เกิดอะไรขึ้น/ เกิดแล้วต้องทำอย่างไร/ ป้องกันไม่ให้เกิดอีกต้องทำอย่างไร)

 

สำหรับบทบาทของวิทยาลัย ในการสร้างและพัฒนา "สุภาพชน คนอาชีวะ" นั้น ควรเริ่มจากการสร้างแกนนำพลังบวก โดยใช้โมเดลอาชีวคุณธรรมของศูนย์คุณธรรมได้ เริ่มต้นจากการนำ "ความดีที่อยากทำ ... ปัญหาที่อยากแก้" และใช้พลังบวกในการชวนกันลงมือทำ ต้องมีพื้นที่กลางให้เขาได้ใช้พลังในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพราะการได้มอบสิ่งดีๆ ให้ผู้อื่นนั้น จะช่วยชูพลังใจให้เขารู้สึกอยากเป็นคน(ทำ)ดี แล้วเราจะได้คนดี เพิ่มขึ้นในสังคม

 


ภาพและข่าว : กลุ่มงานส่งเสริมคุณธรรมเครือข่ายทางสังคม