เมื่อ 17 กรกฏาคม 2563 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานกรรมการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และสื่อสารสู่สาธารณะของศูนย์คุณธรรม  เตรียมชูบทบาท ภารกิจของศูนย์คุณธรรม(องค์การมหาชน)

ที่ดำเนินการส่งเสริม ขับเคลื่อน เชื่อมร้อยองค์กรเครือข่ายคุณธรรมมาอย่างต่อเนื่องให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ พลิกวิกฤติการณ์โควิด ให้เป็นโอกาสโดยการ “ค้นหา ยกย่อง 10 สุดยอดปรากฏการณ์คุณธรรมในสถานการณ์โควิด” เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมในสังคมไทยให้มากขึ้น

                 การประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และสื่อสารสู่สาธารณะ (ครั้งที่1/2563) ครั้งนี้  จัดขึ้น ณ ห้องประชุม๑ ชั้น 16 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ของศูนย์คุณธรรม กำกับทิศทางให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นโยบายรัฐบาล และสนองตอบต่อความต้องการของภาคีเครือข่ายทางสังคมที่เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาและขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม และกำหนดแนวทางการสื่อสารรณรงค์ต่อสาธารณะ โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ เป็นประธานอนุกรรมการฯ และมีองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆ กว่า 10 ท่าน  อาทิ  ศาสตราจารย์ รณชัย คงสกนธ์  นายดนัย จันทร์เจ้าฉาย แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต  พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์   นายนพพร เทพสิทธา  นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองศาสตราจารย์ สุริยเดว ทรีปาตี นายศิวโรฒ จิตนิยม นายระวี ตะวันธรงค์ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  นายอุดมธิปก ไพรเกษตร  นางสาวปริยาภา  อมรวณิชสาร  นายฐาณุพงศ์ จันวิวัธน์เวช เป็นต้น

                 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์  กล่าวว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปแนวทางการข้อสรุปแนวทางการพิจารณาคัดเลือก 10 สุดยอดปรากฏการณ์คุณธรรมในสถานการณ์โควิดเป็นทั้งบุคคล/หน่วยงาน ที่ทำกิจกรรม/ผลิตคลิปสื่อ /ผลงานเชิงสร้างสรรค์ /นวัตกรรมที่ทำเกิด Impact ต่อสังคมในช่วงสถานการณ์โควิด หรือเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมแสดงออกถึงความทุ่มเท มุ่งมั่นต่อการป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือสังคมที่ปรากฏเด่นชัด  ควรค่าแก่การยกย่อง จนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชัดเจน เพื่อทำการประกาศยกย่อง และถอดบทเรียนแรงบันดาลใจเพื่อเผยแพร่ขยายผลให้เป็นแบบอย่างของสังคมต่อไป  รูปแบบการค้นหาจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานคัดเลือก และพิจารณาคัดเลือกจากการเสนอชื่อผลงานในระดับจังหวัด สื่อมวลชน หน่วยงานภาคส่วนต่างๆ และนำผลงานที่ผ่านหลักเกณฑ์สู่การโหวตผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินให้ได้ ๑๐ สุดยอดปรากฏการณ์คุณธรรมในสถานการณ์โควิด จัดทำคลิปสั้น ๆ ของ 10 สุดยอดผลงานเพื่อนำเสนอในพิธีมอบรางวัล รูปแบบ Sub title หลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ  จีน ญี่ปุ่น เผยแพร่แบบ World Wile เพื่อให้สังคมโลกได้รับรู้ได้มากขึ้น  

                   นอกจากนี้ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ กล่าวว่าที่ประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนส่งเสริมคุณธรรมในหลายเรื่อง เช่น การวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายทางสังคมที่เป็นแนวร่วมการทำงาน การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในทุกภาคส่วน  การใช้สื่อหนังสั้น Multi media ผลิตสื่อคุณธรรมที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างสำนึกที่ดีของสังคม  ทำ Campaign Concept ผ่านช่องทางสื่อให้มี Impact ที่สูง รวมทั้งการให้ทุน Corrupt co-operate เปลี่ยนแปลงสังคมให้มีคุณธรรมโดยผ่านสื่อต่าง ๆ   การส่งเสริมให้สังคมเห็นว่าคุณธรรมเป็นหน้าที่ของคนในประเทศ เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวของคุณธรรม เช่น การถอดบทเรียนของจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดพิจิตร ว่า ทำไมคนบุรีรัมย์มีวินัยในช่วงวิกฤตโควิด-19 ระบาด และจังหวัดพิจิตรในการสร้างเมล็ดพันธ์ความดี ควรนำมาเผยแพร่ พัฒนาให้คนมีคุณธรรม อธิบายให้เข้าใจเพื่อเป็นจุดประกายสำคัญในการดำเนินงาน เช่น พอเพียง จิตอาสา นำมารณรงค์ เป็น Campaign โดยสิ่งสำคัญคือการทำให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถหยุดการแพร่ระบาดโควิดมากกว่าชาติอื่น คือ การมีวินัยของคนในชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งของการมีคุณธรรมของคนในประเทศไทย การสื่อสารให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ “New Normal - New Moral” วิถีใหม่ วิถีคุณธรรม การทำคลิปสื่อออกมาเพื่อมี Key word จุดขายสำคัญในสื่อสาธารณะ โดยเราต้องมีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์ร่วมกัน เพื่อจะได้พลังขับเคลื่อน  การใช้ Influencer ด้านต่างๆ เป็นกระบอกเสียงสื่อสารเรื่องคุณธรรมให้เข้าถึงกลุ่มต่างๆ  การสร้าง Reality TV คุณธรรมสำหรับวัยรุ่น สื่อสารให้วัยรุ่นเข้าใจ เน้นความเป็นจริง สร้างออกมาให้เป็นละคร ภาพยนตร์ หรือ Reality สำหรับวัยรุ่นที่สอดแทรกคุณธรรมให้วัยรุ่นคิดเองทำเอง  การสร้าง Global Citizenship แนวคิดสากลนิยม สามารถนำมาใช้ในแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์ให้มากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ ในประเด็นสำคัญของคนไทยที่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีรูปธรรม จับต้องได้มากขึ้น เพื่อให้เกิด Impact ต่อภาคประชาชนถึงการกระตุ้นการมีส่วนร่วมภาคประชาชนได้มากขึ้น  และการกำหนด Agenda ที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น การสื่อสารที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะทำให้องค์กรรู้จักมากขึ้น ดังนั้นจะต้องกำหนด Agenda
ในทุก ๆ ๖ เดือน ซึ่งศูนย์คุณธรรมมี Content ที่ดีอยู่มากพอ เพียงแต่ถ้าจะหยิบยก และกระตุ้นสังคมให้รับรู้มากขึ้น

                    ด้าน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาศูนย์คุณธรรมพบสถานการณ์คุณธรรมที่ทำให้ประชาชนคนไทยรอดพ้นจากโควิดคือความมีวินัยเป็นอันดับหนึ่ง ความรับผิดชอบ ความพอเพียง ความมีน้ำใจ และความสามัคคีตามลำดับ ซึ่งบุคคลที่ทำความดีดังกล่าวควรจะได้รับการยกย่อง  "สำหรับ สถานการณ์ COVID19 ที่ผ่านมา ศูนย์คุณธรรมขับเคลื่อนกิจกรรมไปหลายอย่างอาทิเช่น โครงการ ให้รัก พา เราไป เป็นการประกวดมิวสิคเพลง ประกอบกิจกรรมความดีที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ และพัฒนาการดูแลสภาพจิตใจประชาชนด้วยประชาชนที่เรียกว่า กองทัพจิตอาสาพลังบวก และในสภาวะ New normal New Moral นี้จะร่วมแรงร่วมใจกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมที่เป็นบทพิสูจน์ชัดเจนว่า คุณธรรมในคนไทยสู่สังคมทำให้ประเทศไทยได้รับคำชื่นชมระดับโลก ศูนย์คุณธรรมยินดีสนองนโยบายที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ฯ เพื่อเป็นพลังบวกที่สำคัญให้พี่น้องคนไทยต่อไป" นพ.สุริยเดว กล่าว

                 


เขียนข่าว : กลุ่มงานสื่อสารและรณรงค์ทางสังคม
ภาพถ่าย :  กลุ่มงานสื่อสารและรณรงค์ทางสังคม