วันพุทธที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบประกาศเกียรติคุณบุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” ควรค่าแก่การยกย่อง ปี ๒๕๖๒ ในพิธีเปิดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ

“National Moral Assembly” ครั้งที่ ๑๐ “๑ ทศวรรษ สร้างสังคมคุณธรรม : วินัยคน สะท้อนวินัยชาติ” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

          รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การค้นหา ยกย่อง เชิดชูบุคคลที่นำคุณธรรม ๔ ประการ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” ไปปรับใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตจนเกิดการพัฒนาตนเอง สังคม ชุมชน และประเทศชาตินั้น เป็นกระบวนการหนึ่งในการเสริมสร้างสังคมคุณธรรม เพื่อส่งเสริมและขยายผลแบบอย่างในการทำความดีให้มีความหลากหลายในทุกสาขาอาชีพที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนและคนในสังคม โดยสรรหาผ่านกลไกคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับจังหวัด ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมในระดับจังหวัด และเป็นกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงกับสมัชชาคุณธรรมระดับภูมิภาคและระดับชาติ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมที่มีอยู่ทั่วประเทศ ควรค่าแก่การยกย่อง ได้แก่ พฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมความพอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา ปรากฏชัดเจนในวิถีชีวิตประจำวัน เพื่อเสนอชื่อเข้ารับประกาศเกียรติคุณในงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

          โดยกระบวนการค้นหา บุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม ควรค่าแก่การยกย่อง “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” มาใช้ในการทำงาน หรือแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมที่เป็นรูปธรรม และเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม มีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้

                    ๑) วางแผนเตรียมการ และนำเสนอแนวทางต่อคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม

                    ๒) จัดตั้งคณะทำงาน ๑ คณะ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์บุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม ควรค่าแก่การยกย่องที่เป็นที่ประจักษ์

                    ๓) ค้นหาบุคคลต้นแบบผ่านช่องทางกลไกอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรม ระดับจังหวัด ไม่จำกัดอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา

          ทั้งนี้ วิธีการเสนอชื่อบุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม ควรค่าแก่การยกย่อง คณะกรรมการมีแนวทางคัดเลือกเฉพาะบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ดี ไม่มีประวัติหรือพฤติกรรมที่ปรากฎความเสี่ยงใดๆ และไม่ได้รับรองบุคคลนั้น เป็นบุคคลต้นแบบด้านคุณธรรม โดยมีกระบวนการดำเนินการ ดังนี้

          สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาบุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม ควรค่าแก่การยกย่อง ที่ถูกนำเสนอเข้ารับการคัดเลือกต้องมีพฤติกรรมแสดงออกตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

                    หลักเกณฑ์ที่ ๑. มีพฤติกรรมที่แสดงออกหรือสะท้อนการมีคุณธรรม ด้านพอเพียง วินัย สุจริต และจิตอาสา ควรค่าแก่การยกย่อง จนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ หรือ ปรากฏต่อสาธารณะชัดเจน หรือนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตหรือดำเนินงานเป็นกิจวัตร   

                    หลักเกณฑ์ที่ ๒. มีผลลัพธ์เป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง ในระดับพื้นที่ หรือสาธารณะ

                    หลักเกณฑ์ที่ ๓. เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของบุคคลที่เข้ารับการคัดเลือก จากการมีพฤติกรรมสะท้อนการมีคุณธรรมที่ควรค่าแก่การยกย่อง

                    หลักเกณฑ์ที่ ๔. ต้องไม่เป็นบุคคลที่เคยได้รับรางวัลบุคคลคุณธรรมต้นแบบ ในงานสมัชชาคุณธรรมภูมิภาคและชาติมาแล้ว

                    หลักเกณฑ์ที่ ๕. พิจารณาความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย ที่เปิดโอกาสให้คนในจังหวัด ได้รับโอกาส โดยไม่จำกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

                    หลักเกณฑ์ที่ ๖. ในการพิจารณาบุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมที่ควรค่าแก่การยกย่อง ให้คำนึงถึงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่อาจมีผลขัดแย้งกับคุณธรรมจริยธรรมได้

          สำหรับด้านการพิจารณานำเสนอบุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม ควรค่าแก่การยกย่องนั้น ศูนย์คุณธรรมรับผิดชอบในการรับรองโดยอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัด นอกเหนือจากนี้ ศูนย์คุณธรรม มีเอกสิทธิ์ที่จะพิจารณาบุคคลที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรม ควรค่าแก่การยกย่อง ตามสาขาอาชีพต่างๆ ที่เหมาะสม เป็นผู้ที่สาธารณชนยอมรับในพฤติกรรมที่ดีตามเกณฑ์ดังกล่าวเพิ่มเติมได้ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจโดยประสานงานไปยังหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น เพื่อรับทราบและยกย่องต่อไป

vสำหรับศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีภารกิจสำคัญคือการรณรงค์ส่งเสริมและขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมให้ร่วมกันพัฒนาสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม ผ่านการสื่อสารและเผยแพร่องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านคุณธรรม โดยเจาะจงไปที่การพัฒนาคุณธรรมในระดับทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เครือข่ายทางสังคมมีความเข้าใจต่อพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ และบูรณาการหลักคุณธรรม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของเครือข่ายสามารถพัฒนาพฤติกรรมเชิงคุณธรรมได้ด้วยตนเอง ขอขอบคุณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดแถลงข่าวครั้งนี้


เขียนข่าว : วิชดา นฤวรพัฒน์ / กลุ่มงานสื่อสารและรณรงค์ทางสังคม