งานสมชชา


สรุปผลการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๘

“รวมพลังประชารัฐ ขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม”

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี
และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา

 

1476179332010Download PDF


กรอบแนวคิดการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๘

“รวมพลังประชารัฐ ขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม”

เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี
และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙

 

“สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ” เป็นเวทีกลางของเครือข่ายที่ขับเคลื่อนคุณธรรมความดีทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ และประชาชน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามความก้าวหน้า กำหนดทิศทาง และพัฒนานโยบายสาธารณะในการขับเคลื่อนวาระด้านคุณธรรมความดี ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแห่งชาติ และรณรงค์สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย 

ที่ผ่านมาศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับองค์กรภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ร่วมกันจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติเพื่อการขับเคลื่อนงานคุณธรรมทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน

ในปี ๒๕๕๙ คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นประธานกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ ภายใต้แนวคิด“รวมพลังประชารัฐ ขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม” และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ไปในคราวเดียวกัน

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้นำกรอบแนวทางของคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ มาดำเนินการจัดทำรายละเอียด รูปแบบการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ ให้บรรลุวัตถุประสงค์การจัดงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

 

ชื่องาน

งานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ “รวมพลังประชารัฐ  ขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม” เพื่เฉลิม
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี และเฉลิม
พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙

 

 


 

 

งานสมชชา

 

วัตถุประสงค์การจัดงาน

๑) เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีส่วนร่วมทำความดีเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙

๒) เพื่อสนับสนุนกระบวนการ สร้างการรับรู้และแปลง “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๙ -๒๕๖๔” สู่การปฏิบัติ

๓) เพื่อส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานองค์กรคุณธรรม สำหรับนำไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรที่เกี่ยวข้อง

๔) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยงเครือข่ายและนำเสนอผลงานเชิงรูปธรรมด้านคุณธรรมของเครือข่ายองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวในการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม

๕) เพื่อสร้างความร่วมมือและเตรียมการขับเคลื่อนคุณธรรมอาเซียนในอนาคต

 

เนื้อหาหลัก

๑) การรวบรวมเรื่องราวของบุคคล องค์กรที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และนำพระราชเสาวนีย์เรื่องการอนุรักษ์ฝืนป่า ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปธรรมนำมาเผยแพร่ และแสดงนิทรรศการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ

๒) แนวทางการแปลงแผนปฏิบัติการสู่การปฏิบัติของเครือข่ายองค์กรทุกภาคส่วน ตามแนวทางการขับเคลื่อน “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔”

๓) แนวทางเกณฑ์มาตรฐานองค์กรคุณธรรม ของกลุ่มเครือข่ายนำร่องที่สมัครใจในการนำไปใช้  อาทิ  เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนคุณธรรม  เกณฑ์มาตรฐานชุมชนคุณธรรม  เกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลคุณธรรม  เป็นต้น

๔) นวัตกรรม องค์ความรู้กระบวนการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของหน่วยงาน เครือข่ายคุณธรรมสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่

๕) ผลการศึกษา วิจัย กรณีศึกษาคุณธรรมของประเทศอาเซียน และแนวทางความร่วมมือในอนาคต

 

รูปแบบการจัดกิจกรรม

๑) กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙

๒) กิจกรรมด้านวิชาการ  การปาฐกถาพิเศษ การอภิปราย เสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน เช่น การขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ   การส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานองค์กรคุณธรรม  การส่งเสริมคุณธรรมเชิงพื้นที่ เป็นต้น

๓) กิจกรรมด้านนิทรรศการ  การแสดงผลงานเชิงรูปธรรมด้านการส่งเสริมคุณธรรมของเครือข่ายองค์กรคุณธรรมจากทุกภาคส่วน และทุกกลุ่มเครือข่าย เรียกว่า “ตลาดนัดคุณธรรม”

 

รายละเอียดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

                        รูปแบบกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ จะมีกิจกรรมเทิดพระเกียรติใน ๒ โอกาส เพื่อเฉลิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ทั้งในส่วนเวทีกลางช่วงพิธีเปิดและปิดงาน  และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การจัดบูธเฉลิมพระเกียรติ  โดยมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงก่อนงาน ระหว่างงาน และหลังการจัดงาน “๗๐ บุคคลต้นแบบ  ๗ ล้านความดี”

ก่อนการจัดงาน  จะมีการรณรงค์การค้นหาและรวบรวมเรื่องราวของบุคคลต้นแบบที่นำหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการทำงานและดำเนินชีวิตและผู้ที่นำแนวทางจากพระราชเสาวนีย์เรื่องการอนุรักษ์ฝืนป่าของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปใช้ในการทำงานอนุรักษ์ฝืนป่าอย่างเป็นรูปธรรม  จำนวน ๗๐ บุคคลต้นแบบ

ระหว่างงาน จะนำมาเผยแพร่ และจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ และมีการรณรงค์เชิญชวนประชาชนทั่วไปร่วมเขียนข้อความ ส่งข้อความเจตจำนงค์การทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งเป้ารวบรวมให้ได้ ๗ ล้านความดี ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ

 หลังการจัดงาน จะมีการรณรงค์กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมนำถวายเทิดพระเกียรติฯ ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ ต่อไป

 

รายละเอียดกิจกรรมห้องย่อย   

         โดยสรุปสาระสำคัญแต่ละห้อง ดังนี้ 

ห้อง  : เสวนาแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติสู่การปฏิบัติ

การนำเสนอสาระสำคัญและแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติสู่การปฏิบัติ โดยผู้แทนหน่วยงานจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ให้ข้อคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔) รวมถึงจัดทำข้อเสนอการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ สู่การปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานส่งมอบให้แก่ประธานคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมชาติในวันปิดงาน

ห้อง  : “สื่อคุณธรรมกับการขับเคลื่อนสังคมไทย” 

          การเสวนา "มองคุณธรรม ผ่านละคร" เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองด้านคุณธรรม ความดี หรือแง่คิดต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่ในบทละคร หรือตัวละคร (นักแสดง) ที่ถ่ายทอดออกมาผ่านหน้าจอโทรทัศน์และสื่อต่าง ๆ เป็นมุมมองสะท้อนสภาพสังคมในปัจจุบัน และอีกมุมหนึ่งเป็นการสร้างค่านิยม หรือการปลูกฝังสิ่งดี ๆ ให้แก่ผู้ชม และสร้างสีสันภายในงาน

 

ห้อง :  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม

          เปิดโอกาสให้เครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมทั้ง ๔ ภูมิภาค (ภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ภาคกลาง และภาคใต้) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอกระบวนการแห่งความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียน ในมิติด้านคุณธรรม ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ จนเกิดความเปลี่ยนแปลงต่อตัวนักเรียนครู ผู้ปกครอง และขยายสู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การขยายเครือข่ายและยกระดับเป็นมาตรฐานโรงเรียนคุณธรรมในอนาคต

ห้อง : การส่งเสริมพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรมองค์กร

          สร้างการรับรู้กระบวนการส่งเสริมพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรมขององค์กร ผ่านการนำเสนอรายงานวิจัยการส่งเสริมพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรมขององค์กร โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กรณีศึกษา บทเรียนการพัฒนาสู่องค์กรคุณธรรม และจัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนการส่งเสริมพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรมขององค์กรนำร่องใน ๔ กลุ่มเครือข่าย ได้แก่ กลุ่มการศึกษา องค์กรชุมชน ธุรกิจ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ห้อง : การขับเคลื่อนจังหวัดส่งเสริมคุณธรรม

          นำเสนอบทเรียน  กระบวนการในการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม ผลการเปลี่ยนแปลงของการขับเคลื่อนจังหวัดส่งเสริมคุณธรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน จนเกิดรูปธรรมและคุณธรรมร่วมในพื้นที่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ๖ จังหวัด ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมเพื่อขยายผลสู่จังหวัดอื่น ๆ และระดับนโยบาย

ห้อง : บทบาทเยาวชน กับการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย

          เวทีที่เปิดโอกาสให้แกนนำเยาวชนในกลุ่ม องค์กร ชมรมต่างๆ ได้เป็นกระบอกเสียงหนึ่ง ในการถ่ายทอดทัศนคติ/ความรู้ในมุมมองของเยาวชนที่มีขับเคลื่อนเรื่องคุณธรรมต่อปัจจัยต่าง ๆ ของสังคมในปัจจุบัน ตลอดจนการร่วมกำหนดบทบาททิศทาง และกลไกการทำงานร่วมกันของเยาวชนในการส่งเสริมคุณธรรมของสังคมไทย 

รายละเอียดการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานด้านคุณธรรมของภาคีเครือข่ายคุณธรรม “ตลาดนัดคุณธรรม”

 

โซน เนื้อหา/รายละเอียดกิจกรรม
โซน ๑  เฉลิมพระเกียรติฯ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ - การจัดบูธเฉลิมพระเกียรติ ใน ๒ โอกาสเพื่อเฉลิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ มีกิจกรรมที่เชื่อมโยงก่อนงาน ระหว่างงาน และหลังการจัดงาน  โดยจะมีการค้นหาบุคคลที่นำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนำพระราชเสาวนีย์เรื่องการอนุรักษ์ฝืนป่า ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ๗๐ กรณีตัวอย่าง (ในโอกาสครอบ ๗ รอบ) นำมาเผยแพร่ และจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ และมีการรณรงค์เชิญชวนประชาชนทั่วไปร่วมเขียนและส่งเจตจำนงค์การทำความดี ๗ ล้านความดีผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการจัดงาน โดยจะรวบรวมและนำถวายเพื่อเทิดพระเกียรติในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ ต่อไป

โซน ๒  นโยบายด้านการส่งเสริมคุณธรรม    

 

- นำเสนอความเชื่อมโยงแนวนโยบายด้านคุณธรรมในมิติคุณธรรม ได้แก่  ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี  นโยบายรัฐด้านคุณธรรม 

นโยบายกระทรวงวัฒนธรรม  สาระสำคัญแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และนโยบายอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ศูนย์คุณธรรม

โซน ๓  มาตรฐานองค์กรคุณธรรม

-นำเสนอข้อมูลผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาตรฐานคุณธรรมทั้งในและต่างประเทศ

-นำเสนอกระบวนการ กรณีตัวอย่างการดำเนินการมาตรฐานองค์กรคุณธรรม ๕ กลุ่ม อาทิ  โรงเรียนคุณธรรม  โรงพยาบาลคุณธรรม  ธุรกิจคุณธรรม ชุมชนคุณธรรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคุณธรรมฯลฯ

โซน ๔ จังหวัดคุณธรรม

-นำเสนอบทเรียน กระบวนการความสำเร็จในการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม  ผลการเปลี่ยนแปลงของการขับเคลื่อนจังหวัดส่งเสริมคุณธรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน จนเกิดรูปธรรมและคุณธรรมร่วมในพื้นที่

- การนำเสนอกิจกรรมของจังหวัดส่งเสริมคุณธรรมนำร่อง ๖ จังหวัด

โซน ๕ การแสดงผลงานองค์กรภาคีร่วมจัดงาน -การจัดนิทรรศการขององค์กรภาคีร่วมจัดงาน โดยเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรมและกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติของแต่ละหน่วยงานฯ

โซน ๖ กระบวนการส่งเสริมคุณธรรมของศูนย์คุณธรรม     

                                   

-นำเสนอกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมตามภารกิจ ยุทธศาสตร์ของศูนย์คุณธรรม ที่เป็นผลเชิงประจักษ์ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงช่องทางการเผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ

โซน ๗ คุณธรรมอาเซียน        

                 

-การนำเสนอผลการศึกษา วิจัย กรณีศึกษาคุณธรรมของประเทศอาเซียน และการจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องจิตอาสา ในมิติการอยู่ร่วมกันของคนอาเซียนและมีผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนเข้าร่วมจัดกิจกรรม
โซนเครือข่ายคุณธรรมอื่น ๆ  -จัดแสดงนิทรรศการ นำเสนอผลงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม เช่น เครือข่ายศาสนา  เครือข่ายเยาวชน องค์กรสาธารณะประโยชน์ และหน่วยงานส่งเสริมคุณธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นงาน

 


งานสมชชา

 

 

กำหนดการ

Download PDF

 

วัน และสถานที่จัดงาน

     จัดงานวันพฤหัสบดีที่ ๑ กันยายน -วันศุกร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๙ ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม ๑ (ฮอลล์๙)  เมืองทองธานี  จังหวัดนนทบุรี   

 

 


 

 ประมวลภาพบรรยากาศงานสมัชชาคุณธรรมครั้งที่ ๘

1473406984806 1   1473407010045 2
 
 
วีดิทัศน์สรุปผลการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๘

https://www.youtube.com/watch?v=xJuEIywzDbQ&feature=youtu.be
 
 
วีดิทัศน์หลักการทรงงานกับการส่งเสริมคุณของสังคมไทย - งานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติครั้งที 8
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

รายชื่อหน่วยงานองค์กรร่วมจัดงานสมัชชาคุณธรรม ครั้งที่ ๘  (จำนวน ๗๘ องค์กร)

  รายชื่อองค์กรร่วมจัด หมายเหตุ
  หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวง  ระดับกรม  ระดับกอง  
๑.      กระทรวงวัฒนธรรม  
๒.      กระทรวงศึกษาธิการ  
๓.      กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  
๔.      กระทรวงมหาดไทย  
๕.      กรมการศาสนา  
๖.      กรมอาเซียน  
๗.      กรมการพัฒนาชุมชน   
๘.      กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  
๙.      สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  
๑๐.  สำนักงานจเรตำรวจแห่งชาติ  
๑๑.  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  
๑๒.  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  
๑๓.  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  
๑๔.  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  
๑๕.  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  
๑๖.  สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง  
๑๗.  สถาบันพระปกเกล้า  
๑๘.  กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  
๑๙.  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  
๒๐.  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  
๒๑.  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (ปปท.)  
๒๒.  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  
๒๓.  สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  
๒๔.  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ          
  หน่วยงานองค์กรอิสระ  
๒๕.  สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน  
๒๖.  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  
  หน่วยงานองค์การมหาชน  
๒๗.  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  
  หน่วยงานด้านการศึกษา  
๒๘.  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  
๒๙.  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
๓๐.  ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย   
๓๑.  ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ  
๓๒.  สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
๓๓.  สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล    
๓๔.  ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  
๓๕.  สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย  
  หน่วยงานด้านศาสนา  
๓๖.  สำนักจุฬาราชมนตรี  
๓๗.  มูลนิธิสังฆะเพื่อสังคม  
๓๘.  มูลนิธิสภายุวมุสลิมโลก สำนักงานประเทศไทย  
๓๙.  สมาคมยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  
๔๐.  สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย  
  หน่วยงานภาคประชาสังคม  
๔๑.  มูลนิธิสื่อสารความดี  
๔๒.  มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด  
๔๓.  มูลนิธิเพื่อคนไทย  
๔๔.  มูลนิธิหัวใจอาสา  
๔๕.  สภาองค์กรชุมชนตำบล  
๔๖.  สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย  
๔๗.  สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ    
๔๘.  สมาคมนักสร้างสุขภาวะองค์กร  
๔๙.  สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา  
๕๐.  องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)  
๕๑.  มูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย  
๕๒.  มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยโรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)  
๕๓.  มูลนิธิสยามกัมมาจล  
๕๔.  เครือข่ายความสุขชุมชน  
๕๕.  เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม  
๕๖.  สมาคมสยามอารยะ  
  องค์กรด้านสื่อมวลชน  
๕๗.  สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  
๕๘.  สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  
๕๙.  สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  
๖๐.  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  
๖๑.  สถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฏร์ สวพ.FM91  
  ภาคธุรกิจ / ธุรกิจเพื่อสังคม  
๖๒.  หอการค้าไทย  
๖๓.  สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  
๖๔.  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  
๖๕.  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  
๖๖.  บริษัท ริกิ การ์เม้นส์ จำกัด  
๖๗.  บริษัทแบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด  
๖๘.  กองทุนเวลาเพื่อสังคม  
๖๙.  บริษัทบางสะพานสัมพันธ์ จำกัด  
๗๐.  บริษัทโอเพ่นดรีม จำกัด  
๗๑.  บริษัทสุจริตไทย จำกัด  
  จังหวัดส่งเสริมคุณธรรม  
๗๒.  จังหวัดพัทลุง  
๗๓.  จังหวัดบุรีรัมย์  
๗๔.  จังหวัดพิจิตร  
๗๕.  จังหวัดราชบุรี  
๗๖.  จังหวัดร้อยเอ็ด  
๗๗.  จังหวัดศรีสะเกษ   
  หน่วยงานท้องถิ่น  
๗๘.  กรุงเทพมหานคร  

ENG Diary 01