1249 1207 1221 1477 1744 1989 1012 1159 1267 1111 1230 1925 1940 1540 1144 1427 1405 1570 1072 1753 1040 1872 1052 1588 1766 1788 1765 1261 1896 1636 1867 1686 1144 1444 1642 1138 1634 1424 1431 1716 1753 1347 1647 1834 1376 1329 1983 1778 1056 1917 1504 1925 1278 1848 1180 1604 1248 1710 1360 1603 1754 1807 1132 1697 1275 1975 1900 1062 1185 1069 1881 1435 1392 1937 1827 1991 1327 1646 1421 1656 1946 1305 1891 1067 1667 1460 1165 1736 1490 1622 1422 1369 1718 1098 1560 1251 1295 1692 1263 TIJ จับมือ ECPAT เสวนาเจาะประเด็น “การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผู้ชาย” ภัยคุกคามที่สังคมต้องตระหนัก - moralcenter
head 

 

          TIJ จับมือ ECPAT เสวนาเจาะประเด็น “การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผู้ชาย” ภัยคุกคามที่สังคมต้องตระหนัก

          สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ ECPAT จัดเสวนาประเด็น “การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผู้ชาย” ชี้เด็กผู้ชายมักถูกมองว่าเข้มแข็งกว่า และมักถูกละเลยจากสังคม เมื่อกล่าวถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทุกฝ่ายจึงต้องให้ความสำคัญและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากขึ้น

          จากการศึกษาวิจัยของ TIJ  ร่วมกับหน่วยงานที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย พบว่า ปัจจุบัน มีเด็กชายจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นผลการศึกษาที่สอดคล้องกับงานวิจัยขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2555 ที่พบว่าเด็กหญิงเคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศร้อยละ 11-22 ขณะที่เด็กชายเคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศร้อยละ 3-16.5 และแม้จากการสำรวจจะพบว่าเด็กหญิงตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศมากกว่าเด็กชาย แต่ปัญหานี้ก็ไม่ควรถูกละเลย

          ความรุนแรงทางเพศในเด็กนั้นมีอัตราเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ทั่วโลก
ความรุนแรงนั้นเกิดได้หลายรูปแบบ ทั้งความรุนแรงทางอารมณ์ การทอดทิ้ง การทารุณกรรมเด็ก รวมไปถึงการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กแล้ว ยังเป็นการสร้างความเจ็บปวด ความอับอาย และทำให้เด็กตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ ส่งผลกระทบทางลบต่ออารมณ์และจิตใจ ทั้งยังขัดขวางพัฒนาการในด้านต่าง ๆ และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมเสี่ยงในอนาคต

          TIJ ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับมูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก (ECPAT International) จัดกิจกรรมสาธารณะ “ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผู้ชาย” ขึ้น เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ที่ห้องอบรม ชั้น 15 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศต่อเด็กชาย อันจะช่วยนำไปสู่การพัฒนากรอบการป้องกันและการตอบสนองต่อการแสวงหาประโยชน์ต่อเด็กที่ไม่ละเลยต่อความอ่อนไหวและความต้องการเฉพาะของเด็กผู้ชาย

          เอกอัครราชทูต อดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ ที่ปรึกษาพิเศษสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “โดยทั่วไปแล้ว บรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมมักจะยึดถือว่าผู้ชายและเด็กชายมีความเข้มแข็งกว่าผู้หญิงและเด็กหญิง ประเด็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศต่อเด็กชายจึงมักถูกมองข้าม การละเลยประเด็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศต่อเด็กชาย ทำให้เด็กชายอาจไม่สามารถเข้าถึงบริการและความช่วยเหลือ หรืออาจได้รับความช่วยเหลือที่ไม่เหมาะสมกับความอ่อนไหวเฉพาะที่เกิดขึ้นกับเด็กผู้ชาย” 

          ด้าน โรเบิร์ต แวนเด็น เบิร์ก ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า “เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตโดยไม่ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศ รวมทั้งเด็กผู้ชายด้วย การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศในเด็กชายเกิดขึ้นทั่วโลก และมูลนิธิเอ็คแพทก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ TIJ ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นนี้ เนื่องจากในขณะที่ข้อมูลและผลสำรวจเกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเด็กหญิงเป็นที่ยอมรับและพูดถึงในวงกว้าง แต่ข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศต่อเด็กผู้ชายกลับมีจำกัด ทั้งที่เด็กชายก็ได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กัน และในบางบริบทก็อาจได้รับผลกระทบหนักกว่าเด็กหญิงเสียอีก”

          สำหรับกิจกรรมสาธารณะ “ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผู้ชายให้กระจ่าง” ร่วมอภิปรายโดย นายวันชัย รุจนวงศ์ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ดร. มาร์ค คาเวนา (Mark Kavenagh) คุณแอนเดรีย วาเรลลา (Andrea Varrella) และคุณอภิชาติ หัตถสิน ในครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศที่มีต่อเด็กผู้ชาย ซึ่ง TIJ และมูลนิธิเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล คาดหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างกรอบการป้องกัน การคุ้มครอง และการฟื้นฟูที่เหมาะสมต่อไป

          ที่ผ่านมา TIJ มุ่งมั่นส่งเสริมและสนับสนุนรัฐสมาชิกในการใช้งานวิจัยและการศึกษาเป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายเพื่อป้องกันความรุนแรงและปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สามารถปกป้องคุ้มครองเด็กและตอบสนองกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการเผยแพร่แนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ผ่าน “ยุทธศาสตร์ต้นแบบของสหประชาชาติและมาตรการเชิงปฏิบัติในการขจัดความรุนแรงต่อเด็กในด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา” กรอบแนวทางในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมอาญาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ซึ่ง TIJ มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และยกร่างในประเทศไทยใน พ.ศ. 2557 อีกทั้งยังได้ร่วมผลักดันจนกระทั่งได้รับการรับรองโดยมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐออสเตรีย และทรงเป็นประธานที่ประชุมยกร่างและเจรจาการนำยุทธศาสตร์ต้นแบบฯ ไปปรับใช้ นับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยุติความรุนแรงต่อเด็กของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

          สำหรับใน พ.ศ. 2562 TIJ ร่วมกับ International Centre for Criminal Law Reform & Criminal Justice Policy (ICCLR) ศึกษาวิจัยเรื่อง “มุ่งสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เหมาะสมกับลักษณะเปราะบางของเด็กที่เป็นผู้เสียหายจากความรุนแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการดำเนินการตามส่วนที่ 2 ของยุทธศาสตร์ต้นแบบฯ เพื่อปกป้องเด็กที่เป็นผู้เสียหายและพยานของอาชญากรรมความรุนแรง และคาดว่าจะเผยแพร่ใน พ.ศ. 2563 และยังร่วมกับมูลนิธิเซฟ เดอะ ชิลเดรน (Save the Children) และมูลนิธิเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล ในการนำแนวคิดทางจิตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) มาออกแบบเป็นงานวิจัยชื่อ “การพัฒนาทักษะการรู้คิดสำหรับเด็กที่มีประสบการณ์ถูกล่วงละเมิดทางเพศในประเทศไทย: กระบวนการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ” บนพื้นฐานเป้าหมายในการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมตามแนวทางของ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) โดยมุ่งหวังที่จะบำบัดฟื้นฟูทางความคิดและส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกสำหรับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศ

 

เอกสารสรุปการประชุม Download PDF

 


ข่าวโดย : Thailand Institute of Justice (Public Organization)