A- A A+
×

Error

[SIGPLUS_EXCEPTION_SOURCE] Image source is expected to be a full URL or a path relative to the image base folder specified in the back-end but /News-PR-2565/09-02-65/2 is neither a URL nor a relative path to an existing file or folder.

F5CE88A3 A8A3 42A7 9473 4CE92A36ED2C L0 001 

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง ชุดแผนงานครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง, หัวหน้าโครงการย่อยที่ 1 ครอบครัวพลังบวก (Positive Parenting in Family) ได้นำเสนอร่างรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง

โดยมีผู้ร่วมวิจัย รศ.นพ. ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการย่อยที่ 2 ครอบครัวเกมสร้างสรรค์ (Healthy Gamers) และ ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร. ในโครงการย่อยที่ 3 ครอบครัวไร้ความรุนแรง (Family Against Violence) และยังมีนักวิจัยร่วมที่สำคัญ เช่น คุณโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลแขวง, ผศ.ดร.พัชรินทร์ เสรี และ ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร มหาวิทยาลัยมหิดล
.
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า รายงานผลการดำเนินงานเกิด impact ทั้งในระดับ บุคคล ชุมชน/สังคม และระดับนโยบาย รวมถึงความท้าทายในสถานการณ์โควิด ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่เรื่องสำคัญๆ เพื่อเสริมให้ครอบครัวมีทักษะ การสื่อสารภายในบ้านระหว่างกัน ทักษะการดูแลด้วยวินัยเชิงบวก ทักษะในการให้คำปรึกษา ล้วนเป็น soft skill ที่ทำในรูปแบบ E-learning แบบ Scenario based ที่ง่ายต่อการเข้าใจสำหรับประชาชนวงกว้าง เกิดความยั่งยืนในรูปแบบการพัฒนาแกนนำพลังบวกภาคท้องถิ่น ที่เรียกว่า “ระบบพี่เลี้ยงในชุมชน” ที่เกิดแกนนำ มีทักษะ สำรวจ ทักษะ เฝ้าระวังทักษะขอความช่วยเหลือ ทักษะการเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษา ร่วมกับการดึงความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยประจำท้องที่มาร่วมพัฒนาเป็นระบบ Coaching โดยที่แม้จะดำเนินโครงการในสถานการณ์โควิด ก็ยังสามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้หมดทุกประเด็น
.
นอกจากนี้ยังเกิดชุดเครื่องมือของทั้ง 3 โครงการย่อย ที่สามารถใช้ประโยชน์ตามระเบียบวิธีวิจัยได้อย่างมากมายและดีเยี่ยมต่อคณะกรรมการในสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
.
ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ให้คำชื่นชมผลการดำเนินงานของโครงการฯ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในการยกระดับเป็นชุดแผนงาน Prototype ของวช. เป็นตัวอย่างที่ดีให้โครงการอื่นต่อไป รวมทั้งมีแผนการจัดงานแถลงข่าวร่วมกันกับทีมวิจัยและศูนย์คุณธรรม ในการเชื่อมโยงงานสู่กลไกภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสมัชชาคุณธรรมจังหวัดนั้นๆ ต่อไป

 



{gallery}/News-PR-2565/09-02-65/2{/gallery}