A- A A+

การประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการส่งเสริม การพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ครั้งที่ ๑


          เวทีประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการส่งเสริมพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙  วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุม ๓๗๐๑  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร   มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นจำนวน  ๔๑ คน  โดยนายบวรเวท รุ่งรุจี ประธานที่ประชุมกล่าวเปิดการประชุม และแจ้งที่ประชุมทราบถึงประกาศคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง การตั้งคณะทำงานจัดทำแผนการส่งเสริม การพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม  ซึ่งประกอบด้วย ที่ปรึกษาคณะทำงาน ประธานคณะทำงาน รองประธานคณะทำงาน คณะทำงาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการจำนวนทั้งสิ้น ๓๗ คน มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาและจัดทำแนวทางการส่งเสริม พัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมขององค์กรประเภทต่างๆ และปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม มอบหมาย 

นายบวรเวท รุ่งรุจี ประธานคณะทำงานกล่าวถึงความเป็นมาและสาระสำคัญของแผนการปฏิรูปเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม  และการดำเนินงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ   ในส่วนที่สภาปฏิรูปแห่งชาติศึกษาไว้มาพิจารณาเพื่อดำเนินงานเพิ่มเติม โดยได้กำหนดวาระการปฏิรูป ๕ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑  ๑๘ เดือน (ถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐) เป็นช่วงเร่งรัดการปฏิรูปในด้านต่างๆให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล   ระยะที่ ๒-ระยะที่ ๕ ช่วงละ ๕ ปี เป็นการดำเนินงานตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ (๒๐ ปี) จนถึง ปี ๒๕๘๐

12717681 1020299391366409 6932511377021933665 n 12728913 1020299394699742 1091889577141271879 n 

สำหรับการดำเนินงานของคณะทำงานจัดทำแผนการส่งเสริมพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม นั้นนอกจากเป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาของสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วใน (ร่าง)รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  ยังได้กล่าวถึงมาตรฐานจริยธรรม เช่น มาตรา ๙๖ การสิ้นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ (๑๓)        ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง รวมถึงในปัจจุบัน หน่วยงานองค์กรต่างๆ ก็มีการดำเนินงานด้านคุณธรรมจริยธรรมในรูปแบบของตน นอกจากนั้นรัฐบาลปัจจุบันเห็นความสำคัญในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมมากโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะกำหนดให้ทุกวิชาแกนกลางทั้ง ๘ กลุ่มสาระวิชาผู้จัดทำหลักสูตรจะต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนด้วย ดังนั้นจึงขอให้คณะทำงานร่วมพิจารณาความเห็น และแนวทางในการกำหนดมาตรฐานกลาง  โดยไม่เน้นแค่การดำเนินงานในรูปแบบรณรงค์ หรือกิจกรรมแต่เป็นเกณฑ์ที่สามารถวัดและอธิบายคุณธรรม จริยธรรม ได้อย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับกระบวนการในการดำเนินงานนั้น  เบื้องต้นใช้วิธีการแบ่งคณะทำงานออกเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มการศึกษา กลุ่มชุมชน กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มธุรกิจ และร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ แนวทางในการจัดทำมาตรฐาน  รวมถึงค้นหาหน่วยงานต้นแบบที่คณะทำงานได้ทำการรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม เพื่อเป็นตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารเสนอเข้าคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม โดยพลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภาเป็นประธาน และบรรจุเป็นวาระเพื่อเสนอต่อสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ต่อไป

12742558 1020299468033068 4775095636367770643 n 12745684 1020299588033056 5928053904313395853 n

นายสิน สื่อสวน รองประธานคณะทำงานนำเสนอ ภาพรวมของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และแนวทางการจัดทำมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อช่วยในการวัดและเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม เนื่องจาก ถ้ารณรงค์ให้มีการพัฒนามาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะเป็นการดำเนินงานในมิติขององค์กร เพื่อให้แต่ละองค์กรไปพัฒนาสมาชิกขององค์กรตนเอง  โดยเบื้องต้นได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน ดังนี้   มีนาคม-มิถุนายน ๒๕๕๙  (๔ เดือน) จะได้ร่างมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมเบื้องต้นของแต่ละกลุ่ม  มิถุนายน ๒๕๕๙ – มิถุนายน ๒๕๖๐ (๑๒ เดือน) เป็นการนำมาตรฐานไปปฏิบัติโดยหน่วยงานที่สมัครใจ โดยจะมีการประเมินปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ในระหว่างการดำเนินงานในรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ความคิดเห็นที่ประชุมเพิ่มเติม

     ๑.      เรื่องคุณธรรม จริยธรรมเป็นเรื่องภายในจิตใจที่ต้องอาศัยการบ่มเพาะ คือ ควรต้องมีการอบรมสั่งสอนด้วยการประพฤติปฏิบัติ รวมถึงต้องอาศัยการมีส่วนรวม จากครอบครัวจะทำให้เกิดการกำหนดมาตรฐานความดีงามของตนเอง

๒.    การส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมนั้น ต้องเน้นการเปลี่ยนจิตสำนึกโดย ใช้แนวทางของต้นแบบ และต้องดำเนินงานในทุกกลุ่มของสังคม ทำในภาพรวม โดยยกกรณีตัวอย่างของการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมของมูลนิธิยุวสถิรคุณที่ดำเนินงานทั้งองค์กร ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ให้เกิดความตระหนักรู้ สิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำส่งผลให้คุณธรรมเกิดขึ้นทั้งโรงเรียน ผลพลอยได้ คือ ผลการเรียนดี และขยายผลไปยัง ๗๐๐ โรงเรียนทั่วประเทศ รวมถึงขยายไปยังหน่วยงานอื่น เช่นโรงพยาบาล เกิดการดำเนินงานโรงพยาบาลคุณธรรมขึ้น

๓.     ปัญหาของสังคมไทยนอกเหนือจากปัญหาคอร์รัปชัน คือ การแตกความสามัคคี ซึ่งเกิดจากการมีอัตตาตัวตนสูง บรรทัดฐานของสังคมเสื่อมลง  ทุกคนมุ่งผลประโยชน์ของตนเอง ยึดกลุ่มของตนเอง ทำทุกวิถีทางที่จะได้รับชัยชนะ  ไม่มองประโยชน์ส่วนรวม  การแก้ไขจึงควร เน้นให้ทุกคนตระหนักรู้และพร้อมลงมือปฏิบัติ โดยไม่จำเป็นต้อง เขียนลายลักษณ์อักษร แต่ทำเป็นแบบอย่างเนื่องจากการทำเป็นลายลักษณ์อักษร อาจมีปัญหาเรื่องการตีความ การหาช่องว่าง

๔.    ควรมีตัวอย่างรูปธรรมมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยถอดองค์ความรู้กระบวนการ ของหน่วยงานที่ปฏิบัติมาเป็นต้นแบบในการดำเนินงาน

๕. การปฏิรูปต้องดำเนินงานทั้งระบบ โดยการจัดทำมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมนี้ต้องเชื่อมโยงกับการดำเนินงานของกรรมาธิการชุดอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 

กรอบและทิศทางการดำเนินงาน

ช่วงแรก    ระยะพัฒนา ทบทวนการดำเนินงานมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ผ่านมาทั้งเนื้อหาสาระ หน่วยงานองค์กรที่ดำเนินงานรวมถึงการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในกลุ่มการศึกษา กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มชุมชน และกลุ่มธุรกิจ และกำหนดประเด็นคุณธรรม เพื่อจัดทำเป็นเอกสารข้อมูลในแต่ละกลุ่มองค์กร

ช่วงที่สอง   ระยะนำไปใช้ การนำข้อมูลไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ดำเนินการโดยหน่วยงานองค์กรที่สมัครใจ พร้อมดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนา ปรับปรุง ระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานองค์กรส่งเสริมคุณธรรม

ช่วงที่สาม  ระยะขยายผล โดยนำผลจากการดำเนินงานมาทบทวน สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อยกระดับจากการดำเนินงานวิจัยไปสู่การกำหนดเป็นมาตรฐาน นอกจากนั้นอาจมีการเชิดชู การมอบรางวัล ซึ่งไม่ใช่รูปแบบการประกวด แต่เป็นการให้กำลังใจในการดำเนินงาน

กรอบทิศทางการดำเนินงานเพิ่มเติมจากที่ประชุม

  • ควรมีรูปแบบที่เริ่มจากง่าย(เชิญชวนให้หน่วยงานองค์กรต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม
  • ควรดำเนินงานในรูปแบบการส่งเสริม พัฒนา และรับรองมาตรฐานคุณธรรม เนื่องจากที่ผ่านมาดำเนินงานตามบริบทของสังคม ของหน่วยงาน ค้นหาค่านิยมหรือคุณค่าของตนเอง แล้วนำมากำหนดเป็นหลักเกณฑ์
  • ควรมีการปรับความคิดให้ตรงกันในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม โดยใช้แนวทางที่เป็นสากลโดยใช้ค่านิยมนำไปสู่เรื่องคุณธรรม จริยธรรม เนื่องจากค่านิยมเปรียบเทียบได้ และชัดเจน ถ้าเราพัฒนาค่านิยมได้ จะเกิดคุณธรรมเพราะเกิดชุดความคิดที่ดี  การพัฒนาค่านิยมไปสู่สังคมจะเป็นบรรทัดฐานของสังคม(จริยธรรม)ดังนั้นก่อนกำหนดมาตรฐาน จึงต้องหาค่านิยมที่ปรารถนาของคนไทย
  • การกำหนดประเด็นคุณธรรม จริยธรรมควรดำเนินการทั้งประเทศ เน้นการจัดทำแนวทางการส่งเสริมรับรองมาตรฐานมากกว่าการตรวจสอบ การจัดทำกระบวนการในรูปแบบประชามติและเสนอเป็นกลุ่ม
    • ต้องไม่กำหนดเฉพาะเนื้อหาแต่ต้องพิจารณาในระดับต่างๆ เช่น Good governance (การบริหารจัดการโดยองค์กรต้องมีระบบพัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรม)  Production (การผลิต /การบริการ การดำเนินงานและผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ความซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อลูกค้า)  Beyond production/service  (มีการดำเนินการเชิงความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการดำเนินงานหลักของตนเอง)
    • ไม่ควรจัดทำมาตรฐานเชิงบังคับ หรือตัวชี้วัดที่ให้โทษ แต่เป็นมาตรการเชิงส่งเสริม เช่น มีคุณธรรมดีอาจมีรางวัล โดยให้การรับรองมาตรฐานคุณธรรมเพื่อเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาคุณธรรม โดยมองว่าองค์การเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อในการพัฒนาคนให้มีคุณธรรม เพราะสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ
    • ควรดำเนินงานโดยเน้นในเรื่องการเติบโตและการพัฒนาอย่างมีจริยธรรม ควรนำองค์กรภาครัฐเข้ามาร่วม และให้ภาครัฐขับเคลื่อนเป็นตัวอย่างให้ประชาชนเห็น โดยอาจมีแนวทางดำเนินการที่ทำได้เร็ว(Quick win) เพื่อให้เห็นความสำเร็จโดยใช้จังหวะรัฐบาลพิเศษให้ผู้นำประเทศเป็นแบบอย่าง เช่น ในกรณีของผู้นำประเทศจีนที่ห้ามปูพรมแดง ห้ามเลี้ยงต้อนรับเป็นต้น โดยรัฐบาลนี้อาจยกเลิกบางค่านิยมและทำเป็นแบบอย่าง และที่จะทำในระยะยาวอีกส่วนหนึ่ง 
  • ควรขยายเรื่องคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นสาระหลักของสังคมโดยอาจแบ่งการดำเนินงานเป็น ๓ ระยะ
  • ควรดำเนินงานมาตรฐานในเชิงยุทธศาสตร์ ดังนี้

ได้แก่

  • ระยะที่ ๑  ผู้ที่พร้อมเข้าร่วม 
  • ระยะที่ ๒ การขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมาย
  • ระยะที่ ๓ การขยายไปสู่ระดับนโยบาย
  • ควรสร้างมาตรฐานในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมควบคู่ไปกับด้านอาชีพ การประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ โดยไม่แยกความดีออกจากอาชีพควรเน้นการเติบโตอย่างมีจริยธรรม หรือการที่จะประสบความสำเร็จการบรรลุวัตถุประสงค์องค์กรอย่างมีจริยธรรม
  • เนื่องจากข้อจำกัดของเวลาควรดำเนินงานในการศึกษาต่อยอด เช่น จากการดำเนินงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรมใน ๑๑ วิชาชีพ เป็นต้น โดยศึกษาบรรทัดฐานของสังคมไทยในแต่ละวิชาชีพที่เป็นวิถีปฏิบัติ โดยบรรทัดฐานอาจต้องปรับตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป  ต้องหาค่านิยม สร้างชุดความเชื่อ และสร้างกระบวนทัศน์
  • ควรนำมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมนี้ผนวกเข้ากับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

ประเด็นคุณธรรมจริยธรรม

  • ควรนำหลักมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นปรัชญาที่ยอมรับมาปรับใช้  ได้แก่ ความดีคือการเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยอาจใช้หลักศาสนาได้แก่  เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา และจิตอาสา หรือหลักคนดีตามหลักศาสนาคือ ไม่เอาเปรียบ ไม่ละเมิดผู้อื่น ประกอบอาชีพสุจริต
  • อาจนำหลักวัฒนธรรมและประเพณี รวมกับกระแสสังคมที่ดียุคใหม่มากำหนดเป็นประเด็นด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • ควรร่วมกันกำหนดค่านิยมของสังคมไทยก่อน โดยอาจจำแนกเป็นค่านิยมต่อตนเอง และค่านิยมต่อสังคม โดยอาจนำค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ตามนโยบายของ คสช. มา ๓-๕ ประการ เช่น  ค่านิยมต่อตนเอง ได้แก่ ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย  และค่านิยมในสังคม คือ ซื่อตรง รับผิดชอบ พอเพียง เป็นต้น
  • การกำหนดค่านิยมสามารถดำเนินงานโดย การกำหนดจากผู้นำที่เป็นที่ศรัทธาของประเทศ การใช้กระบวนการศึกษาวิจัย  หรือการใช้กระบวนการ Shared value ที่แต่ละคนร่วมกันกำหนดว่าค่านิยมของสังคมไทยคืออะไร
  • ควรกำหนดประเด็นคุณธรรมที่ชัดเจน และสอดคล้องกับบริบทของสังคม โดยในการส่งเสริมคุณธรรมเรื่องหนึ่งจะส่งผลให้คุณธรรมด้านอื่นๆตามมา เช่น ส่งเสริมในเรื่อง ซื่อตรง เสียสละ มีวินัย พอเพียง มีความรับผิดชอบ  หรือประเด็นที่เกี่ยวกับหน่วยงานองค์กร เช่น ภาคธุรกิจเน้น ในเรื่อง ความซื่อตรง (การจัดการต่อตนเอง) เป็นต้น
  • สภาพปัญหาปัจจุบัน เกิดจากปัญหาการทุจริตเป็นรากเหง้า คือการไม่รู้จักแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม เมื่อผู้ใดเห็นแก่ตัว จะนำทรัพยากรส่วนกลางมาเป็นของตน ของพวกพ้อง จึงอาจกำหนดประเด็นคุณธรรมเพื่อแก้ปัญหา
  • อาจดำเนินงานศึกษาประมวลจริยธรรมที่มีของหน่วยงานต่างๆ ที่มีมากมายและหลากหลาย และจัดทำเป็นมาตรฐานกลาง

องค์กรที่จะเข้าร่วม/กลุ่มเป้าหมาย

  • หน่วยงาน/องค์กรได้แก่  ภาคการศึกษา ภาคการเมือง ภาคชุมชน องค์กรรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน
  • กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มประชาสังคม กลุ่มช่วงวัย (กลุ่มเด็กเล็ก  กลุ่มเยาวชน และกลุ่มประชาชนทั่วไป)  เป็นต้น

บทบาทหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง

  • ควรยึดหลัก บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) และให้วัดมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมร่วมกัน
  • ความเข้มแข็งของกลไกในการตรวจสอบ เช่น องค์กรอิสระที่ควรกำหนดในเรื่องการทำผิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรงในส่วนนักการเมือง ตาม(ร่าง)รัฐธรรมนูญ  
  • ควรใช้หลักภาระหน้าที่ที่แต่ละองค์กรต้องทำ ใครมีหน้าที่อะไรก็ต้องทำตามนั้น โดยยึดหลักวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
  • ในส่วนภาคราชการเสนอให้ ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ. ซึ่งมีกลไกในการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในภาคราชการ ทั้งส่วนบริหาร ส่วนราชการ กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม เป็นตัวเชื่อมและเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้เกิดคุณธรรมในภาคราชการ

มติที่ประชุม

เห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอและมีมติ ดังนี้

๑.       ควรดำเนินการจัดทำมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม โดยจัดทำเป็นมาตรฐานกลางที่ทุกหน่วยงานต้องมี และนำไปต่อยอดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงาน องค์กรนำไปปรับใช้

๒.       องค์กรที่จะนำมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ไปดำเนินการนำร่อง มี ๖ กลุ่ม คือ กลุ่มองค์กรภาครัฐ  กลุ่มการศึกษา กลุ่มชุมชน กลุ่มองค์กรปกครองท้องถิ่น กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มประชาสังคม (NGO)  สำหรับมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งของนักการเมือง อาจศึกษาเพิ่มเติมและให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ

๓.     คุณธรรมพื้นฐานที่จะนำมากำหนดเป็นมาตรฐานกลาง คือ เรื่องความซื่อตรง มีวินัย  เสียสละเพื่อส่วนรวม และเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นบทสรุปเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมพื้นฐานของคนไทยจากงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติครั้งที่ ๖

Exit

Moral Auditorlum